ประวัติต้นรัชกาลที่ 6

ประวัติต้นรัชกาลที่ 6 เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2466 หรือ 2 ปีก่อนสวรรคต[1]โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า ราม วชิราวุธ พระราชทานแก่เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) มหาดเล็กคู่พระทัยทั้งสิ้น 2 เล่ม[2] ซึ่งพระองค์ได้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในขณะที่พระองค์ยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่เริ่มประชวรจนเสด็จสวรรคต จนถึงต้นรัชกาลของพระองค์ เช่น เหตุการณ์คดีพญาระกา คดีสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์สันนิษฐานว่าเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลถึงขั้นบั่นทอนพระชนมายุของทูลกระหม่อม (ทูลกระหม่อมในที่นี้หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)[3], ที่มาของการเฉลิมพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเกิดขึ้นหลังการสวรรคตของรัชกาลที่ 5 ได้ไม่นาน[4], ทรงพระกรรแสง (ร้องไห้) ขณะสรงน้ำพระมุรธาภิเษกในคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร,[1] การปลดพระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ออกจากราชการทหารเรือ[2]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ทำไมรัชกาลที่ 6 "น้ำตาไหลอาบหน้า" ขณะสรงพระมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก?". ศิลปวัฒนธรรม. 27 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2024.
  2. 2.0 2.1 "เหตุที่กรมหลวงชุมพรฯ ถูกปลดจากทหารเรือ จากพระราชบันทึกรัชกาลที่ 6". ศิลปวัฒนธรรม. 5 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2024.
  3. "รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ถึงคดีพิพาทที่บั่นทอนพระชนมายุ "ทูลกระหม่อม" รัชกาลที่ 5". ศิลปวัฒนธรรม. 5 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2024.
  4. ""สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ในประวัติต้นรัชกาลที่ 6". ศิลปวัฒนธรรม. 2 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2024.