สันทะกะฑะปะหะณะ

สันทะกะฑะปะหะณะ (อักษรโรมัน: Sandakada Pahana) หรือ หินดวงจันทร์ (อังกฤษ: Moonstone) เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในสถาปัตยกรรมศรีลังกา[1][2][3] มีลักษณะเป็นแผ่นหินรูปครึ่งวงกลมที่แกะสลักอย่างวิจิตร มักตั้งอยู่ที่พื้นเชิงบันไดหรือตามทางเข้าออก เริ่มแรกปรากฏในสมัยอนุราธปุระ และพัฒนาเรื่อยมาใน สมัยโปโลนนุะรุวะ, คัมโพละ และ กัณฑยัน นักประวัติศาสตร์ถือว่าเป็นการสร้างภาพแทนแนวคิดสังสารวัฏในศาสนาพุทธ

สันทะกะฑะปะหะณะที่เชิงบันไดจากสมัยอนุราธปุระ
สันทะกะฑะปะหะณะบนพื้นทางเข้าโปโลนนะรุวะวฏทาเค จากสมัยโปโลนนะวุระ รูปแบบที่ไม่มีรูปของม้าและกระทิง

ในพงศาวดารมหาวงศ์ และสมันตปสทิกา เรียกหินสันทะกะฑะปะหะณะว่า patika[4]

ประวัติศาสตร์

แก้

สมัยอนุราธปุระ

แก้

สันทะกะฑะปะหะณะแรกเริ่มสร้างกันในยุคปลายของอาณาจักรอนุราธปุระโดยในสมัยนั้นจะตั้งไว้ที่ทางเข้าของวัดเท่านั้น[5] ในสมัยเดียวกันนี้ยังพบรูปแบบที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมทั้งผืนผ้าและจัตุรัส ดังเช่นที่พบที่มิริศเวติยวิหารยะ เป็นที่เข้าใจกันว่ารูปแบบสี่เหลี่ยมนั้นมีมาก่อน ก่อนที่จะมีพัฒนาการมาเป็นรูปแบบครึ่งวงกลมที่พบได้ทั่วไปในยุคถัด ๆ มา

ลักษณะภาพบนสันทะกะฑะปะหะณะจากสมัยอนุราธปุระมีลักษณะเหมือน ๆ กันในทุกแห่งที่พบ กล่าวคือเป็นครึ่งดอกบัวอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยแถบต่าง ๆ แถบแรกเป็นรูปฝูงหงส์ แถบต่อมาเป็นลายเถาวัลย์และดอกไม้ เรียกว่า liyavel ซึ่งเป็นภาพแทนตัณหา แถบที่สามแสดงสัตว์สี่ชนิดคือช้าง สิงห์ ม้า และกระทิง เดินตามกันตามลำดับ เป็นภาพแทนอริยสัจสี่ (จตุรรยะสัตยะ) , หรืออาจแทนถึงสี่ระยะของช่วงชีวิต คือเกิด แก่ เจ็บ ตาย ส่วนแถบวงนอกสุดเป็นรูปเปลวเพลิง[5] ซึ่งมักตีความว่าคือความเจ็บปวดในวัฏสงสารที่มนุษย์ต้องเผชิญ นักประวัติศาสตร์ เสนารถ ปรนวิตนะ ตีความภาพต่าง ๆ ที่นิยมแกะสลักไว้ ซึ่งเป็นรูปแบบการตีความที่นิยมมากที่สุด เขาระบุว่าหินทั้งวงเป็นภาพแทนสังสารวัฏ ดอกบัวด้านในสุดแทนนิพพานคือการหลุดพ้น เถาวัลย์และดอกไม้แทนตัณหา[6] ช้าง กระทิง สิงห์ และม้า แทนการเกิด แก่ เจ็บ และตายตามลำดับ ส่วนหงส์เป็นภาพแทนการแยกระหว่างความดีกับความชั่วร้าย ตามตำนานที่ว่าหงส์สามารถแยกนมกับน้ำที่ผสมกันได้[2]

สมัยโปโลนนะรุวะ

แก้

ในสมัยอาณาจักรโปโลนนุรุวะ การออกแบบสร้างสันทะกะฑะปะหะณะมีความแตกต่างไปอย่างมากจากสมัยอนุราธปุระ เช่น มีการนำรูปกระทิงออก ปรับแยกรูปสิงห์และม้าออกเป็นคนละวงกัน เป็นต้น[7] การนำเอากระทิงออกจากการออกแบบมีที่มาจากความเชื่อฮินดูที่ถือว่ากระทิงหรือวัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในสมัยนั้นอิทธิพลจากฮินดูมีสูงมากในศรีลังกา รวมถึงเริ่มนำมาสร้างตามทางเข้าของสิ่งปลูกสร้างอื่นนอกจากวัด[5]

สมัยคัมโปละและกัณฑิ

แก้

ในสมัยคัมโปละและ กัณฑิ มีการออกแบบเปลี่ยนไปอย่างมาก รูปแบบครึ่งวงกลมแปรสภาพมาเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยม วงกลมล้องรอบถูกเอาออกไป และมีการแกะสบักรูปดอกบัวที่ตรงกลางแผ่นหิน ล้อมรอบด้วยลวดลายพรรณพฤกษา liyavel[8] ถือว่าปรากฏความเป็นช่างศิลป์น้อยลงมาจากสองสมัยก่อนหน้า

อ้างอิง

แก้
  1. Cave, Henry William (1908). "The northern provinces - Henry Cave - Google Books". สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
  2. 2.0 2.1 Gaveshaka (2004-05-02). "Tradition continues: Moonstones in Polonnaruwa". Sunday Times. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
  3. Bandaranayake, S. D. (1974). Sinhalese Monastic Architecture: The Viharas of Anuradhapura - Senake Bandaranayake - Google Books. ISBN 9004039929. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
  4. "Buddhist Art". The Associated Newspapers of Ceylon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
  5. 5.0 5.1 5.2 Siriweera (2004), p. 288
  6. Diganwela (1998), p. 12
  7. Siriweera (2004), p. 289
  8. Diganwela (1998), p. 11

บรรณานุกรม

แก้