ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เตียวจูล่ง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัด 56: บรรทัด 56:


== แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชีวประวัติเตียวจูล่ง ==
== แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชีวประวัติเตียวจูล่ง ==
ชีวประวัติหลักของเตียวจูล่งอยู่ใน''[[จดหมายเหตุสามก๊ก]]'' (''ซานกั๋วจื้อ'') เขียนโดย[[ตันซิ่ว]]ในศตวรรษที่ 3 โดยมีข้อความยาวเพียง 346 [[อักษรจีน]] ในศตวรรษที่ 5 [[เผย์ ซงจือ]]เพิ่ม[[อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก|อรรถาธิบาย]]จาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน'' (趙雲別傳; ''ชีวประวัติอย่างไม่เป็นทางการของเจ้า ยฺหวิน'') ให้กับบทชีวประวัติเตียวจูล่งใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' ซึ่งให้ภาพชีวประวัติของเตียวจูล่งที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์
ชีวประวัติหลักของเตียวจูล่งอยู่ใน''[[สามก๊กจี่]]'' (''ซานกั๋วจื้อ'') เขียนโดย[[ตันซิ่ว]]ในศตวรรษที่ 3 โดยมีข้อความยาวเพียง 346 [[อักษรจีน]] ในศตวรรษที่ 5 [[เผย์ ซงจือ]]เพิ่ม[[อรรถาธิบายสามก๊กจี่|อรรถาธิบาย]]จาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน'' (趙雲別傳; ''ชีวประวัติอย่างไม่เป็นทางการของเจ้า ยฺหวิน'') ให้กับบทชีวประวัติเตียวจูล่งใน''สามก๊กจี่'' ซึ่งให้ภาพชีวประวัติของเตียวจูล่งที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์


== การรับราชการช่วงต้นกับกองซุนจ้าน ==
== การรับราชการช่วงต้นกับกองซุนจ้าน ==
[[File:Zhao Yun shows his valor to Gongsun Zan.jpg|thumb|280px|เตียวจูล่งแสดงวีรกรรมต่อหน้ากองซุนจ้าน ภาพวาดจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์''[[สามก๊ก]]''ฉบับตีพิมพ์ในสมัย[[ราชวงศ์ชิง]]]]
[[File:Zhao Yun shows his valor to Gongsun Zan.jpg|thumb|280px|เตียวจูล่งแสดงวีรกรรมต่อหน้ากองซุนจ้าน ภาพวาดจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์''[[สามก๊ก]]''ฉบับตีพิมพ์ในสมัย[[ราชวงศ์ชิง]]]]


เตียวจูล่งเป็นชาว[[อำเภอเจินติ้ง|อำเภอจีนเต๋ง]] (真定 ''เจินติ้ง'') เมือง[[เสียงสัน]] (常山 ''ฉางชาน'')<ref>(趙雲字子龍,常山真定人也。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref> ใน''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''บรรยายลักษณะภายนอกของเตียวจูล่งว่าสูง 8 ''[[ฉื่อ (หน่วยวัด)|ฉื่อ]]'' (ประมาณ 184 เซนติเมตร) มีรูปลักษณ์ที่สง่างามและน่าประทับใจ<ref>(雲別傳曰:雲身長八尺,姿顏雄偉, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
เตียวจูล่งเป็นชาว[[อำเภอเจินติ้ง|อำเภอจีนเต๋ง]] (真定 ''เจินติ้ง'') เมือง[[เสียงสัน]]{{efn|ใน''[[สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)]]'' ปรากฏการเรียกเมืองฉางชาน (常山) เป็น 3 ชื่อ ได้แก่ เสียงสัน<ref>("[[โจโฉ]]ตั้งกองทัพอยู่ที่สูงแลไปเห็นก็ตกใจ จึงถามทหารทั้งปวงว่า คนนี้คือผู้ใด ทหารทั้งปวงจึงบอกว่า เปนชาวบ้าน'''เสียงสัน'''ชื่อจูล่ง") {{cite web|title=สามก๊ก ตอนที่ ๕๗|url=https://vajirayana.org/สามก๊ก/ตอนที่-๕๗|website=วัชรญาณ|access-date=August 28, 2024}}</ref>, เซียงสัน<ref>("[[กองซุนจ้าน]]จึงออกมาจากเงื้อมเขา เห็นทหารคนนั้นสูงประมาณหกศอก หน้าผากแลคิ้วใหญ่ตาโต จึงถามว่าท่านนี้ชื่อใด มาช่วยเรานี้ขอบใจนัก จูล่งย่อตัวลงคำนับแล้วว่า ข้าพเจ้าชื่อจูล่งแซ่เตียว อยู่ณเมือง'''เซียงสัน'''") {{cite web|title=สามก๊ก ตอนที่ ๖|url=https://vajirayana.org/สามก๊ก/ตอนที่-๖|website=วัชรญาณ|access-date=August 28, 2024}}</ref> และเสียงสาน<ref>("นาง[[งอก๊กไถ้]]เห็นจูล่งแต่งตัวเปนทหารเหน็บกระบี่เดิรเข้ามายืนแอบหลัง[[เล่าปี่]]อยู่ จึงถามเล่าปี่ว่าทหารคนนี้ชื่อใด เล่าปี่บอกว่าชื่อจูล่ง เปนแซ่เตียวชาวเมือง'''เสียงสาน'''") {{cite web|title=สามก๊ก ตอนที่ ๔๕|url=https://vajirayana.org/สามก๊ก/ตอนที่-๔๕|website=วัชรญาณ|access-date=August 28, 2024}}</ref>}} (常山 ''ฉางชาน'')<ref>(趙雲字子龍,常山真定人也。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref> ใน''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''บรรยายลักษณะภายนอกของเตียวจูล่งว่าสูง 8 ''[[ฉื่อ (หน่วยวัด)|ฉื่อ]]'' (ประมาณ 184 เซนติเมตร) มีรูปลักษณ์ที่สง่างามและน่าประทับใจ<ref>(雲別傳曰:雲身長八尺,姿顏雄偉, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


หลังจากที่ได้รับการแนะนำจากเจ้าเมืองเสียงสันให้เข้ารับราชการ เตียวจูล่งจึงนำอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ ไปเข้าร่วมกับ[[กองซุนจ้าน]] ขุนศึกในมณฑล[[อิวจิ๋ว]]<ref>(... 為本郡所舉,將義從吏兵詣公孫瓚。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref> เวลานั้น ขุนศึก[[อ้วนเสี้ยว]]มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นหลังได้รับการแต่งตั้งให้ให้เป็นเจ้ามณฑล[[กิจิ๋ว]] กองซุนจ้านจึงกังวลว่าราษฎรจำนวนมากในมณฑลอิวจิ๋วจะเลือกรับใช้อ้วนเสี้ยวแทนที่จะเป็นตน<ref>(時袁紹稱兾州牧,瓚深憂州人之從紹也, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
หลังจากที่ได้รับการแนะนำจากเจ้าเมืองเสียงสันให้เข้ารับราชการ เตียวจูล่งจึงนำอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ ไปเข้าร่วมกับ[[กองซุนจ้าน]] ขุนศึกในมณฑล[[อิวจิ๋ว]]<ref>(... 為本郡所舉,將義從吏兵詣公孫瓚。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref> เวลานั้น ขุนศึก[[อ้วนเสี้ยว]]มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นหลังได้รับการแต่งตั้งให้ให้เป็นเจ้ามณฑล[[กิจิ๋ว]] กองซุนจ้านจึงกังวลว่าราษฎรจำนวนมากในมณฑลอิวจิ๋วจะเลือกรับใช้อ้วนเสี้ยวแทนที่จะเป็นตน<ref>(時袁紹稱兾州牧,瓚深憂州人之從紹也, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


เมื่อเตียวจูล่งมาพบกองซุนจ้านพร้อมกับกลุ่มอาสาสมัคร กองซุนจ้านถามอย่างดูถูกว่า "ข้าได้ยินมาว่าทุกคนในมณฑลบ้านเกิดของท่าน{{efn|เมืองเสียงสันอยู่ในเขตมณฑลกิจิ๋ว}}ต้องการรับใช้ตระกูลอ้วน เหตุใดมีเฉพาะพวกท่านที่มีใจผันแปรไป สับสนจนคิดผิดหรือ"<ref>(... 善雲來附,嘲雲曰:「聞貴州人皆願袁氏,君何獨迴心,迷而能反乎?」) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref> เตียวจูล่งตอบว่า "แผ่นดินกำลังโกลาหล ใครถูกใครผิดไม่ชัดแจ้ง ผู้คนตกอยู่ในอันตราย เหล่าคนที่อยู่ในมณฑลบ้านเกิดของข้าหลังจากไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงตัดสินใจจะติดตามนายผู้ปกครองด้วยคุณธรรม ข้าจึงเลือกเข้ามาร่วมกับท่านขุนพลแทนที่จะเป็นท่านอ้วน" กองซุนจ้านจึงยอมรับเตียวจูล่ง ภายหลังเตียวจูล่งจึงได้ร่วมในฝ่ายกองซุนจ้านในยุทธการกับทัพอริหลายครั้ง<ref>(雲荅曰:「天下訩訩,未知孰是,民有倒縣之厄,鄙州論議,從仁政所在,不為忽袁公私明將軍也。」遂與瓚征討。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
เมื่อเตียวจูล่งมาพบกองซุนจ้านพร้อมกับกลุ่มอาสาสมัคร กองซุนจ้านถามอย่างดูถูกว่า "ข้าได้ยินมาว่าทุกคนในมณฑลบ้านเกิดของท่าน{{efn|เมืองเสียงสันอยู่ในเขตมณฑลกิจิ๋ว}}ต้องการรับใช้ตระกูลอ้วน เหตุใดมีเฉพาะพวกท่านที่มีใจผันแปรไป สับสนจนคิดผิดหรือ"<ref>(... 善雲來附,嘲雲曰:「聞貴州人皆願袁氏,君何獨迴心,迷而能反乎?」) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref> เตียวจูล่งตอบว่า "แผ่นดินกำลังโกลาหล ใครถูกใครผิดไม่ชัดแจ้ง ผู้คนตกอยู่ในอันตราย เหล่าคนที่อยู่ในมณฑลบ้านเกิดของข้าหลังจากไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงตัดสินใจจะติดตามนายผู้ปกครองด้วยคุณธรรม ข้าจึงเลือกเข้ามาร่วมกับท่านขุนพลแทนที่จะเป็นท่านอ้วน" กองซุนจ้านจึงยอมรับเตียวจูล่ง ภายหลังเตียวจูล่งจึงได้ร่วมในฝ่ายกองซุนจ้านในยุทธการกับทัพอริหลายครั้ง<ref>(雲荅曰:「天下訩訩,未知孰是,民有倒縣之厄,鄙州論議,從仁政所在,不為忽袁公私明將軍也。」遂與瓚征討。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


== พบกับเล่าปี่ ==
== พบกับเล่าปี่ ==
ราวต้นทศวรรษ 190 เตียวจูล่งพบกับ[[เล่าปี่]]ซึ่งเวลานั้นมาอยู่พึ่งกองซุนจ้าน เตียวจูล่งสนิทสนมกับเล่าปี่อย่างมากและต้องการจะเปลี่ยนมาภักดีต่อเล่าปี่<ref>(時先主亦依託瓚,每接納雲,雲得深自結託。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref> เมื่อกองซุนจ้านส่งเล่าปี่ไปช่วย[[เต๊งไก๋]]ที่เป็นพันธมิตรในยุทธการที่รบกับอ้วนเสี้ยว เตียวจูล่งติดตามเล่าปี่ไปด้วยและทำหน้าที่เป็นนายทหารม้าของเล่าปี่<ref>(本屬公孫瓚,瓚遣先主為田楷拒袁紹,雲遂隨從,為先主主騎。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ราวต้นทศวรรษ 190 เตียวจูล่งพบกับ[[เล่าปี่]]ซึ่งเวลานั้นมาอยู่พึ่งกองซุนจ้าน เตียวจูล่งสนิทสนมกับเล่าปี่อย่างมากและต้องการจะเปลี่ยนมาภักดีต่อเล่าปี่<ref>(時先主亦依託瓚,每接納雲,雲得深自結託。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref> เมื่อกองซุนจ้านส่งเล่าปี่ไปช่วย[[เต๊งไก๋]]ที่เป็นพันธมิตรในยุทธการที่รบกับอ้วนเสี้ยว เตียวจูล่งติดตามเล่าปี่ไปด้วยและทำหน้าที่เป็นนายทหารม้าของเล่าปี่<ref>(本屬公孫瓚,瓚遣先主為田楷拒袁紹,雲遂隨從,為先主主騎。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


เมื่อเตียวจูล่งได้รับข่าวการเสียชีวิตของพี่ชาย ได้มาขอลาราชการชั่วคราวกับเล่าปี่เพื่อไปไว้อาลัยให้พี่ชาย เล่าปี่รู้ว่าเมื่อเตียวจูล่งไปแล้วจะไม่กลับมาจึงกุมมือของเตียวจูล่งพร้อมบอกลา ก่อนเตียวจูล่งจะจากไปได้กล่าวกับเล่าปี่ว่า "ข้าจะไม่ลืมบุญคุณของท่านเลย"<ref>(雲以兄喪,辭瓚暫歸,先主知其不反,捉手而別,雲辭曰:「終不背德也。」) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
เมื่อเตียวจูล่งได้รับข่าวการเสียชีวิตของพี่ชาย ได้มาขอลาราชการชั่วคราวกับเล่าปี่เพื่อไปไว้อาลัยให้พี่ชาย เล่าปี่รู้ว่าเมื่อเตียวจูล่งไปแล้วจะไม่กลับมาจึงกุมมือของเตียวจูล่งพร้อมบอกลา ก่อนเตียวจูล่งจะจากไปได้กล่าวกับเล่าปี่ว่า "ข้าจะไม่ลืมบุญคุณของท่านเลย"<ref>(雲以兄喪,辭瓚暫歸,先主知其不反,捉手而別,雲辭曰:「終不背德也。」) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


== รับใช้เล่าปี่ ==
== รับใช้เล่าปี่ ==
ต้นปี ค.ศ. 200 เล่าปี่สูญเสียฐานอำนาจในมณฑล[[ชีจิ๋ว]]ให้กับ[[โจโฉ]]ที่เป็นอริ เล่าปี่หนีไปทางเหนือข้าม[[แม่น้ำเหลือง|แม่น้ำฮองโห]] (แม่น้ำเหลือง) และลี้ภัยไปพึ่ง[[อ้วนเสี้ยว]] ศัตรูของโจโฉ{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 63}} ช่วงเวลาเดียวกันนั้น เตียวจูล่งก็เดินทางไปยัง[[เย่ (เหอเป่ย์)|เงียบกุ๋น]]อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการของอ้วนเสี้ยวซึ่งได้พบกับเล่าปี่อีกครั้งที่นั่น เตียวจูล่งและเล่าปี่อยู่ร่วมห้องเดียวกันในช่วงที่อาศัยอยู่ในเงียบกุ๋น<ref>(先主就袁紹,雲見於鄴。先主與雲同床眠卧, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ต้นปี ค.ศ. 200 เล่าปี่สูญเสียฐานอำนาจในมณฑล[[ชีจิ๋ว]]ให้กับ[[โจโฉ]]ที่เป็นอริ เล่าปี่หนีไปทางเหนือข้าม[[แม่น้ำเหลือง|แม่น้ำฮองโห]] (แม่น้ำเหลือง) และลี้ภัยไปพึ่ง[[อ้วนเสี้ยว]] ศัตรูของโจโฉ{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 63}} ช่วงเวลาเดียวกันนั้น เตียวจูล่งก็เดินทางไปยัง[[เย่ (เหอเป่ย์)|เงียบกุ๋น]]อันเป็นที่ตั้งที่ว่าการของอ้วนเสี้ยวซึ่งได้พบกับเล่าปี่อีกครั้งที่นั่น เตียวจูล่งและเล่าปี่อยู่ร่วมห้องเดียวกันในช่วงที่อาศัยอยู่ในเงียบกุ๋น<ref>(先主就袁紹,雲見於鄴。先主與雲同床眠卧, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


เล่าปี่ลอบสั่งการกับเตียวจูล่งให้ช่วยรวบรวมทหารได้หลายร้อยนายที่เต็มใจจะติดตามตน อ้างว่าทหารเหล่านี้รับใช้ขุนพลซ้าย ({{lang|zh|左將軍}} ''จั่วเจียงจฺวิน''){{efn|เล่าปี่ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลซ้าย (左將軍 ''จั่วเจียงจฺวิน'') จากราชสำนัก[[ราชวงศ์ฮั่น|ฮั่น]]ในช่วงต้นปี ค.ศ. 199 หลัง[[ยุทธการที่แห้ฝือ]]<ref>(助先主圍布於下邳,生禽布。先主復得妻子,從曹公還許。表先主為左將軍, ...) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 32.</ref>}} อ้วนเสี้ยวไม่รู้เรื่องดังกล่าวนี้ จากนั้นเตียวจูล่งพร้อมด้วยเล่าปี่และผู้ติดตามจึงตีจากอ้วนเสี้ยวและมุ่งลงใต้ไปเข้าร่วมกับ[[เล่าเปียว]] เจ้ามณฑล[[เกงจิ๋ว]]<ref>(... 密遣雲合募得數百人,皆稱劉左將軍部曲,紹不能知。遂隨先主至荊州。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
เล่าปี่ลอบสั่งการกับเตียวจูล่งให้ช่วยรวบรวมทหารได้หลายร้อยนายที่เต็มใจจะติดตามตน อ้างว่าทหารเหล่านี้รับใช้ขุนพลซ้าย ({{lang|zh|左將軍}} ''จั่วเจียงจฺวิน''){{efn|เล่าปี่ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลซ้าย (左將軍 ''จั่วเจียงจฺวิน'') จากราชสำนัก[[ราชวงศ์ฮั่น|ฮั่น]]ในช่วงต้นปี ค.ศ. 199 หลัง[[ยุทธการที่แห้ฝือ]]<ref>(助先主圍布於下邳,生禽布。先主復得妻子,從曹公還許。表先主為左將軍, ...) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 32.</ref>}} อ้วนเสี้ยวไม่รู้เรื่องดังกล่าวนี้ จากนั้นเตียวจูล่งพร้อมด้วยเล่าปี่และผู้ติดตามจึงตีจากอ้วนเสี้ยวและมุ่งลงใต้ไปเข้าร่วมกับ[[เล่าเปียว]] เจ้ามณฑล[[เกงจิ๋ว]]<ref>(... 密遣雲合募得數百人,皆稱劉左將軍部曲,紹不能知。遂隨先主至荊州。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


=== ยุทธการที่พกบ๋อง ===
=== ยุทธการที่พกบ๋อง ===
{{see also|ยุทธการที่พกบ๋อง}}
{{see also|ยุทธการที่พกบ๋อง}}


ในปี ค.ศ. 202 เมื่อโจโฉนำทัพขึ้นไปรบในการทัพทางเหนือของจีนเพื่อรบกับเหล่าบุตรชายของอ้วนเสี้ยวและพันธมิตร เล่าปี่ถือโอกาสที่โจโฉไม่อยู่นำกองกำลังเข้าโจมตีดินแดนของโจโฉในภาคกลางของจีน โจโฉส่งขุนพล[[แฮหัวตุ้น]]และคนอื่น ๆ นำทัพไปต้านเล่าปี่{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 64}}<ref>(先是,與夏侯惇戰於博望, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ในปี ค.ศ. 202 เมื่อโจโฉนำทัพขึ้นไปรบในการทัพทางเหนือของจีนเพื่อรบกับเหล่าบุตรชายของอ้วนเสี้ยวและพันธมิตร เล่าปี่ถือโอกาสที่โจโฉไม่อยู่นำกองกำลังเข้าโจมตีดินแดนของโจโฉในภาคกลางของจีน โจโฉส่งขุนพล[[แฮหัวตุ้น]]และคนอื่น ๆ นำทัพไปต้านเล่าปี่{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 64}}<ref>(先是,與夏侯惇戰於博望, ...) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


ระหว่างยุทธการ เตียวจูล่งจับตัวแฮหัวอัน ({{lang|zh|夏侯蘭}} ''เซี่ยโหฺว หลาน'') เพื่อนเก่าที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันกับตน เตียวจูล่งขอร้องเล่าปี่ให้ไว้ชีวิตแฮหัวอันและแนะนำให้รับแฮหัวอันมารับราชการเป็นตุลาการทัพเพราะตนรู้ว่าแฮหัวอันมีความรู้เรื่องกฎหมาย<ref>(... 生獲夏侯蘭。蘭是雲鄉里人,少小相知,雲白先主活之,薦蘭明於法律,以為軍正。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref> เตียวจูล่งได้รับการยกย่องในเรื่องความรอบคอบระมัดระวังเกี่ยวกับการวางตัวในเรื่องความสัมพันธ์กับแฮหัวอันแม้ว่าจะเป็นเพื่อนกันก็ตาม<ref>(雲不用自近,其慎慮類如此。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ระหว่างยุทธการ เตียวจูล่งจับตัวแฮหัวอัน ({{lang|zh|夏侯蘭}} ''เซี่ยโหฺว หลาน'') เพื่อนเก่าที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันกับตน เตียวจูล่งขอร้องเล่าปี่ให้ไว้ชีวิตแฮหัวอันและแนะนำให้รับแฮหัวอันมารับราชการเป็นตุลาการทัพเพราะตนรู้ว่าแฮหัวอันมีความรู้เรื่องกฎหมาย<ref>(... 生獲夏侯蘭。蘭是雲鄉里人,少小相知,雲白先主活之,薦蘭明於法律,以為軍正。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref> เตียวจูล่งได้รับการยกย่องในเรื่องความรอบคอบระมัดระวังเกี่ยวกับการวางตัวในเรื่องความสัมพันธ์กับแฮหัวอันแม้ว่าจะเป็นเพื่อนกันก็ตาม<ref>(雲不用自近,其慎慮類如此。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


=== ยุทธการที่เตียงปัน ===
=== ยุทธการที่เตียงปัน ===
บรรทัด 90: บรรทัด 90:
หลังเล่าเปียวเสียชีวิตในปี ค.ศ. 208 [[เล่าจ๋อง]]บุตรชายคนเล็กของเล่าเปียวสืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑล[[เกงจิ๋ว]] เมื่อโจโฉเริ่มการทัพในปีเดียวกันเพื่อจัดการกับกองกำลังข้าศึกในภาคใต้ของจีน เล่าจ๋องยอมสวามิภักดิ์และมอบมณฑลเกงจิ๋วให้กับโจโฉ เล่าปี่และผู้ติดตามทิ้งฐานที่มั่นใน[[อำเภอซินเย่|อำเภอซินเอี๋ย]] (新野 ''ซินเย่'') และมุ่งหน้าลงใต้ไปยัง[[ฮั่นโขฺ่ว|แฮเค้า]] (夏口 ''เซี่ยโขฺ่ว'') ซึ่งรักษาโดย[[เล่ากี๋]]บุตรชายคนโตของเล่าเปียวและเป็นอิสระจากการยึดครองของโจโฉ{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 65}}
หลังเล่าเปียวเสียชีวิตในปี ค.ศ. 208 [[เล่าจ๋อง]]บุตรชายคนเล็กของเล่าเปียวสืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑล[[เกงจิ๋ว]] เมื่อโจโฉเริ่มการทัพในปีเดียวกันเพื่อจัดการกับกองกำลังข้าศึกในภาคใต้ของจีน เล่าจ๋องยอมสวามิภักดิ์และมอบมณฑลเกงจิ๋วให้กับโจโฉ เล่าปี่และผู้ติดตามทิ้งฐานที่มั่นใน[[อำเภอซินเย่|อำเภอซินเอี๋ย]] (新野 ''ซินเย่'') และมุ่งหน้าลงใต้ไปยัง[[ฮั่นโขฺ่ว|แฮเค้า]] (夏口 ''เซี่ยโขฺ่ว'') ซึ่งรักษาโดย[[เล่ากี๋]]บุตรชายคนโตของเล่าเปียวและเป็นอิสระจากการยึดครองของโจโฉ{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 65}}


โจโฉนำกองกำลังทหารม้าฝีมือดี 5,000 นายด้วยตนเองออกไล่ตามเล่าปี่ และไล่ตามเล่าปี่ทันที่เตียงปัน (長坂 ''ฉางป่าน'') ตีกองกำลังของเล่าปี่แตกพ่ายยับเยิน ระหว่างที่เล่าปี่ทิ้งครอบครัวหนี<ref>(曹公以江陵有軍實,恐先主據之,乃釋輜重,輕軍到襄陽。聞先主已過,曹公將精騎五千急追之,一日一夜行三百餘里,及於當陽之長坂。先主棄妻子,與諸葛亮、張飛、趙雲等數十騎走,曹公大獲其人衆輜重。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 32.</ref> เตียวจูล่งอุ้ม[[เล่าเสี้ยน]]บุตรชายที่ยังเด็กของเล่าปี่และคุ้มครอง[[กำฮูหยิน]]ภรรยาของเล่าปี่ (มารดาของเล่าเสี้ยน) ในระหว่างยุทธการและพาไปยังที่ปลอดภัย ภายหลังเตียวจูล่งได้เลื่อนยศเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ ({{lang|zh-hant|牙門將軍}} ''หยาเหมินเจียงจฺวิน'') ตอบแทนความอุตสาหะ<ref>(及先主為曹公所追於當陽長阪,棄妻子南走,雲身抱弱子,即後主也,保護甘夫人,即後主母也,皆得免難。遷為牙門將軍。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
โจโฉนำกองกำลังทหารม้าฝีมือดี 5,000 นายด้วยตนเองออกไล่ตามเล่าปี่ และไล่ตามเล่าปี่ทันที่เตียงปัน (長坂 ''ฉางป่าน'') ตีกองกำลังของเล่าปี่แตกพ่ายยับเยิน ระหว่างที่เล่าปี่ทิ้งครอบครัวหนี<ref>(曹公以江陵有軍實,恐先主據之,乃釋輜重,輕軍到襄陽。聞先主已過,曹公將精騎五千急追之,一日一夜行三百餘里,及於當陽之長坂。先主棄妻子,與諸葛亮、張飛、趙雲等數十騎走,曹公大獲其人衆輜重。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 32.</ref> เตียวจูล่งอุ้ม[[เล่าเสี้ยน]]บุตรชายที่ยังเด็กของเล่าปี่และคุ้มครอง[[กำฮูหยิน]]ภรรยาของเล่าปี่ (มารดาของเล่าเสี้ยน) ในระหว่างยุทธการและพาไปยังที่ปลอดภัย ภายหลังเตียวจูล่งได้เลื่อนยศเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ ({{lang|zh-hant|牙門將軍}} ''หยาเหมินเจียงจฺวิน'') ตอบแทนความอุตสาหะ<ref>(及先主為曹公所追於當陽長阪,棄妻子南走,雲身抱弱子,即後主也,保護甘夫人,即後主母也,皆得免難。遷為牙門將軍。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


ก่อนหน้านี้หลังจากพ่ายแพ้ที่เตียงปัน เล่าปี่ได้ยินข่าวลือว่าเตียวจูล่งทรยศตนไปเข้าด้วยฝ่ายโจโฉ เล่าปี่ปฏิเสธที่จะเชื่อข่าวลือ ขว้างทวน''[[จี่]]''สั้นลงกับพื้นและพูดว่า "จูล่งไม่ทอดทิ้งข้าหนีไปแน่" คำพูดของเล่าปี่ถูกต้องเพราะเตียวจูล่งกลับมาหาเล่าปี่หลังจากนั้นอีกไม่นาน<ref>(雲別傳曰:初,先主之敗,有人言雲已北去者,先主以手戟擿之曰:「子龍不棄我走也。」頃之,雲至。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ก่อนหน้านี้หลังจากพ่ายแพ้ที่เตียงปัน เล่าปี่ได้ยินข่าวลือว่าเตียวจูล่งทรยศตนไปเข้าด้วยฝ่ายโจโฉ เล่าปี่ปฏิเสธที่จะเชื่อข่าวลือ ขว้างทวน''[[จี่]]''สั้นลงกับพื้นและพูดว่า "จูล่งไม่ทอดทิ้งข้าหนีไปแน่" คำพูดของเล่าปี่ถูกต้องเพราะเตียวจูล่งกลับมาหาเล่าปี่หลังจากนั้นอีกไม่นาน<ref>(雲別傳曰:初,先主之敗,有人言雲已北去者,先主以手戟擿之曰:「子龍不棄我走也。」頃之,雲至。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


ในฤดูหนาว ค.ศ. 208–209 เล่าปี่เป็นพันธมิตรกับขุนศึก[[ซุนกวน]]และเอาชนะโจโฉได้อย่างเด็ดขาดใน[[ยุทธการที่เซ็กเพ็ก]] โจโฉถอยหนีขึ้นเหนือหลังพ่ายแพ้ เล่าปี่และซุนกวนก็รุกคืบยึดได้เมือง[[ลำกุ๋น]] (南郡 ''หนานจฺวิ้น'') ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การครอบครองของโจโฉ{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 66}}
ในฤดูหนาว ค.ศ. 208–209 เล่าปี่เป็นพันธมิตรกับขุนศึก[[ซุนกวน]]และเอาชนะโจโฉได้อย่างเด็ดขาดใน[[ยุทธการที่เซ็กเพ็ก]] โจโฉถอยหนีขึ้นเหนือหลังพ่ายแพ้ เล่าปี่และซุนกวนก็รุกคืบยึดได้เมือง[[ลำกุ๋น]] (南郡 ''หนานจฺวิ้น'') ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การครอบครองของโจโฉ{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 66}}


=== ในฐานะเจ้าเมืองฮุยเอี๋ยง ===
=== ในฐานะเจ้าเมืองฮุยเอี๋ยง ===
ภายหลังเตียวจูล่งได้เลื่อนขึ้นขึ้นเป็นขุนพลรอง ({{lang|zh|偏將軍}} ''เพียนเจียงจฺวิน'') สำหรับผลงานที่ช่วยเล่าปี่ในการพิชิตสี่เมืองทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋วคือ[[เตียงสา]] (長沙 ''ฉางชา'') [[เลงเหลง]] (零陵 ''หลิงหลิง'') [[บุเหลง]] (武陵 ''อู่หลิง'') และ[[ฮุยเอี๋ยง]] (桂陽 ''กุ้ยหยาง'') หลังจากยึดได้เมืองฮุยเอี๋ยงแล้ว เล่าปี่ตั้งให้เตียวจูล่งเป็นเจ้าเมืองฮุยเอี๋ยงคนใหม่แทนที่[[เตียวหอม]]<ref>(從平江南,以為偏將軍,領桂陽太守,代趙範。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ภายหลังเตียวจูล่งได้เลื่อนขึ้นขึ้นเป็นขุนพลรอง ({{lang|zh|偏將軍}} ''เพียนเจียงจฺวิน'') สำหรับผลงานที่ช่วยเล่าปี่ในการพิชิตสี่เมืองทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋วคือ[[เตียงสา]] (長沙 ''ฉางชา'') [[เลงเหลง]] (零陵 ''หลิงหลิง'') [[บุเหลง]] (武陵 ''อู่หลิง'') และ[[ฮุยเอี๋ยง]] (桂陽 ''กุ้ยหยาง'') หลังจากยึดได้เมืองฮุยเอี๋ยงแล้ว เล่าปี่ตั้งให้เตียวจูล่งเป็นเจ้าเมืองฮุยเอี๋ยงคนใหม่แทนที่[[เตียวหอม]]<ref>(從平江南,以為偏將軍,領桂陽太守,代趙範。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


เตียวหอมมีพี่สะใภ้ที่เป็นหม้ายและมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงาม เตียวหอมต้องการจะจัดการให้พี่สะใภ้ได้แต่งงานกับเตียวจูล่งเพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับเตียวจูล่ง แต่เตียวจูล่งปฏิเสธความคิดนี้และพูดกับเตียวหอมว่า "เรามี[[เจ้า (นามสกุล)|สกุลเดียวกัน]] พี่ชายของท่านก็เหมือนพี่ชายของข้าเช่นกัน"<ref>(範寡嫂曰樊氏,有國色,範欲以配雲。雲辭曰:「相與同姓,卿兄猶我兄。」固辭不許。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
เตียวหอมมีพี่สะใภ้ที่เป็นหม้ายและมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงาม เตียวหอมต้องการจะจัดการให้พี่สะใภ้ได้แต่งงานกับเตียวจูล่งเพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับเตียวจูล่ง แต่เตียวจูล่งปฏิเสธความคิดนี้และพูดกับเตียวหอมว่า "เรามี[[เจ้า (นามสกุล)|สกุลเดียวกัน]] พี่ชายของท่านก็เหมือนพี่ชายของข้าเช่นกัน"<ref>(範寡嫂曰樊氏,有國色,範欲以配雲。雲辭曰:「相與同姓,卿兄猶我兄。」固辭不許。) อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


มีคนอื่น ๆ ที่โน้มน้าวให้เตียวจูล่งยอมรับการแต่งงานแต่เตียวจูล่งปฏิเสธอย่างหนักแน่นพูดว่า "เตียวหอมถูกบังคับให้ยอมจำนนเพราะสถานการณ์พาไป เจตนาของเขายังไม่แน่ชัดและน่าสงสัย นอกจากนี้ในแผ่นดินนี้ยังมีสตรีอื่นอีกมากมาย" ไม่นานหลังจากนั้น เตียวหอมหลบหนีไป และเตียวจูล่งก็สามารถหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ใด ๆ กับเตียวหอมไปได้เพราะไม่เห็นด้วยกับการแต่งงาน<ref>(時有人勸雲納之,雲曰:「範迫降耳,心未可測;天下女不少。」遂不取。範果逃走,雲無纖介。) ''อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
มีคนอื่น ๆ ที่โน้มน้าวให้เตียวจูล่งยอมรับการแต่งงานแต่เตียวจูล่งปฏิเสธอย่างหนักแน่นพูดว่า "เตียวหอมถูกบังคับให้ยอมจำนนเพราะสถานการณ์พาไป เจตนาของเขายังไม่แน่ชัดและน่าสงสัย นอกจากนี้ในแผ่นดินนี้ยังมีสตรีอื่นอีกมากมาย" ไม่นานหลังจากนั้น เตียวหอมหลบหนีไป และเตียวจูล่งก็สามารถหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ใด ๆ กับเตียวหอมไปได้เพราะไม่เห็นด้วยกับการแต่งงาน<ref>(時有人勸雲納之,雲曰:「範迫降耳,心未可測;天下女不少。」遂不取。範果逃走,雲無纖介。) ''อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


=== รักษาเกงจิ๋ว ===
=== รักษาเกงจิ๋ว ===
ราวปี ค.ศ. 211 เล่าปี่นำทัพยกไปทางตะวันตกเข้ามณฑล[[เอ๊กจิ๋ว]]เพื่อไปช่วย[[เล่าเจี้ยง]]เจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋วในการรบต้าน[[เตียวฬ่อ]]ที่เป็นขุนศึกคู่อริแห่ง[[ฮั่นจง|ฮันต๋ง]] (漢中 ''ฮั่นจง'') เตียวจูล่งและคนอื่น ๆ ยังอยู่รักษามณฑลเกงจิ๋ว<ref>(先主入蜀,雲留荊州。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref><ref>(先主入益州,雲領留營司馬。) ''อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 66}}
ราวปี ค.ศ. 211 เล่าปี่นำทัพยกไปทางตะวันตกเข้ามณฑล[[เอ๊กจิ๋ว]]เพื่อไปช่วย[[เล่าเจี้ยง]]เจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋วในการรบต้าน[[เตียวฬ่อ]]ที่เป็นขุนศึกคู่อริแห่ง[[ฮั่นจง|ฮันต๋ง]] (漢中 ''ฮั่นจง'') เตียวจูล่งและคนอื่น ๆ ยังอยู่รักษามณฑลเกงจิ๋ว<ref>(先主入蜀,雲留荊州。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref><ref>(先主入益州,雲領留營司馬。) ''อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 66}}


ก่อนหน้านี้เมื่อราวปี ค.ศ. 209{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 66}} เล่าปี่แต่งงานกับ[[ซุนฮูหยิน]]น้องสาวของ[[ซุนกวน]]เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างเล่าปี่และซุนกวน ซุนฮูหยินยังคงอยู่ในมณฑลเกงจิ๋วเมื่อเล่าปี่จากไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว ซุนฮูหยินถือตนว่าเป็นน้องสาวของขุนศึกผู้ทรงอำนาจ จึงแสดงท่าทีหยิ่งยโสและกระทำตามอำเภอใจ และยังปล่อยให้องครักษ์และผู้รับใช้ส่วนตัวประพฤติผิดกฎหมายในมณฑลเกงจิ๋ว ด้วยเหตุนี้เล่าปี่จึงแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษให้เตียวจูล่งที่ตนถือว่าเป็นบุคคลที่จริงจังและมีมโนธรรมให้ดูแลกิจการภายในมณฑลเกงจิ๋ว รวมถึงรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยระหว่างที่เล่าปี่ไม่อยู่<ref>(此時先主孫夫人以權妹驕豪,多將吳吏兵,縱橫不法。先主以雲嚴重,必能整齊,特任掌內事。) ''อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref> เมื่อซุนกวนได้ยินว่าเล่าปี่จากไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว จึงส่งเรือไปรับตัวน้องสาวกลับ ซุนฮูหยินพยายามพาตัว[[เล่าเสี้ยน]]บุตรชายของเล่าปี่ไปด้วยกัน แต่เตียวจูล่งและ[[เตียวหุย]]นำทหารมาขัดขวางและพาเล่าเสี้ยนกลับมาได้<ref>(權聞備西征,大遣舟船迎妹,而夫人內欲將後主還吳,雲與張飛勒兵截江,乃得後主還。) 'อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ก่อนหน้านี้เมื่อราวปี ค.ศ. 209{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 66}} เล่าปี่แต่งงานกับ[[ซุนฮูหยิน]]น้องสาวของ[[ซุนกวน]]เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างเล่าปี่และซุนกวน ซุนฮูหยินยังคงอยู่ในมณฑลเกงจิ๋วเมื่อเล่าปี่จากไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว ซุนฮูหยินถือตนว่าเป็นน้องสาวของขุนศึกผู้ทรงอำนาจ จึงแสดงท่าทีหยิ่งยโสและกระทำตามอำเภอใจ และยังปล่อยให้องครักษ์และผู้รับใช้ส่วนตัวประพฤติผิดกฎหมายในมณฑลเกงจิ๋ว ด้วยเหตุนี้เล่าปี่จึงแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษให้เตียวจูล่งที่ตนถือว่าเป็นบุคคลที่จริงจังและมีมโนธรรมให้ดูแลกิจการภายในมณฑลเกงจิ๋ว รวมถึงรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยระหว่างที่เล่าปี่ไม่อยู่<ref>(此時先主孫夫人以權妹驕豪,多將吳吏兵,縱橫不法。先主以雲嚴重,必能整齊,特任掌內事。) ''อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref> เมื่อซุนกวนได้ยินว่าเล่าปี่จากไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว จึงส่งเรือไปรับตัวน้องสาวกลับ ซุนฮูหยินพยายามพาตัว[[เล่าเสี้ยน]]บุตรชายของเล่าปี่ไปด้วยกัน แต่เตียวจูล่งและ[[เตียวหุย]]นำทหารมาขัดขวางและพาเล่าเสี้ยนกลับมาได้<ref>(權聞備西征,大遣舟船迎妹,而夫人內欲將後主還吳,雲與張飛勒兵截江,乃得後主還。) 'อรรถาธิบายจาก''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


''ฮั่นจิ้นชุนชิว'' (漢晉春秋) ที่เขียนโดย[[สี จั้วฉื่อ]]นักประวัติศาสตร์สมัย[[ราชวงศ์จิ้น]] ให้รายละเอียดของเหตุการณ์นี้ที่คล้ายคลึงกันกับที่บันทึกใน''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''<ref>(漢晉春秋云:先主入益州,吳遣迎孫夫人。夫人欲將太子歸吳,諸葛亮使趙雲勒兵斷江留太子,乃得止。) อรรถาธิบายจาก''ฮั่นจิ้นชุนชิว''ใน''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 34.</ref>
''ฮั่นจิ้นชุนชิว'' (漢晉春秋) ที่เขียนโดย[[สี จั้วฉื่อ]]นักประวัติศาสตร์สมัย[[ราชวงศ์จิ้น]] ให้รายละเอียดของเหตุการณ์นี้ที่คล้ายคลึงกันกับที่บันทึกใน''เจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน''<ref>(漢晉春秋云:先主入益州,吳遣迎孫夫人。夫人欲將太子歸吳,諸葛亮使趙雲勒兵斷江留太子,乃得止。) อรรถาธิบายจาก''ฮั่นจิ้นชุนชิว''ใน''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 34.</ref>


=== ยึดครองเอ๊กจิ๋ว ===
=== ยึดครองเอ๊กจิ๋ว ===
บรรทัด 121: บรรทัด 121:


== รับใช้เล่าเสี้ยน ==
== รับใช้เล่าเสี้ยน ==
หลังเล่าปี่สวรรคตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 223 [[เล่าเสี้ยน]]ผู้เป็นโอรสขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแห่ง[[จ๊กก๊ก]] โดยมี[[อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)|อัครมหาเสนาบดี]][[จูกัดเหลียง]]เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะเวลานั้นเล่าเสี้ยนยังทรงพระเยาว์{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 70}} หลังเล่าเสี้ยนขึ้นครองราชย์ได้ทรงแต่งตั้งเตียวจูล่งเป็นผู้พิทักษ์ทัพกลาง ({{lang|zh|中護軍}} ''จงฮู่จฺวิน'') และขุนพลโจมตีภาคใต้ ({{lang|zh|征南將軍}} ''เจิงหนานเจียงจฺวิน'') และพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหย่งชางถิงโหว ({{lang|zh|永昌亭侯}}) ภายหลังพระองค์เลื่อนขั้นเตียวจูล่งเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก ({{lang|zh-hant|鎮東將軍}} ''เจิ้นตงเจียงจฺวิน'')<ref>(建興元年,為中護軍、征南將軍,封永昌亭侯,遷鎮東將軍。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
หลังเล่าปี่สวรรคตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 223 [[เล่าเสี้ยน]]ผู้เป็นโอรสขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแห่ง[[จ๊กก๊ก]] โดยมี[[อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)|อัครมหาเสนาบดี]][[จูกัดเหลียง]]เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะเวลานั้นเล่าเสี้ยนยังทรงพระเยาว์{{sfnp|Sima|1084|loc=vol. 70}} หลังเล่าเสี้ยนขึ้นครองราชย์ได้ทรงแต่งตั้งเตียวจูล่งเป็นผู้พิทักษ์ทัพกลาง ({{lang|zh|中護軍}} ''จงฮู่จฺวิน'') และขุนพลโจมตีภาคใต้ ({{lang|zh|征南將軍}} ''เจิงหนานเจียงจฺวิน'') และพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหย่งชางถิงโหว ({{lang|zh|永昌亭侯}}) ภายหลังพระองค์เลื่อนขั้นเตียวจูล่งเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก ({{lang|zh-hant|鎮東將軍}} ''เจิ้นตงเจียงจฺวิน'')<ref>(建興元年,為中護軍、征南將軍,封永昌亭侯,遷鎮東將軍。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


=== ยุทธการที่กิก๊ก ===
=== ยุทธการที่กิก๊ก ===
{{further|การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง#การบุกครั้งแรก}}
{{further|การบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียง#การบุกครั้งแรก}}


ในปี ค.ศ. 227 เตียวจูล่งย้ายไปยังพื้นที่ระดมพลที่เมือง[[ฮั่นจง|ฮันต๋ง]]เพื่อเข้าร่วมกับจูกัดเหลียงซึ่งกำลังระดมกำลังทหารจากทั่วจ๊กก๊กเพื่อเตรียมการสำหรับการทัพครั้งใหญ่ต่อ[[วุยก๊ก]]ที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก<ref>([建興]五年,隨諸葛亮駐漢中。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref><ref>[建興]五年,率諸軍北駐漢中, ...] ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 35.</ref>
ในปี ค.ศ. 227 เตียวจูล่งย้ายไปยังพื้นที่ระดมพลที่เมือง[[ฮั่นจง|ฮันต๋ง]]เพื่อเข้าร่วมกับจูกัดเหลียงซึ่งกำลังระดมกำลังทหารจากทั่วจ๊กก๊กเพื่อเตรียมการสำหรับการทัพครั้งใหญ่ต่อ[[วุยก๊ก]]ที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก<ref>([建興]五年,隨諸葛亮駐漢中。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref><ref>[建興]五年,率諸軍北駐漢中, ...] ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 35.</ref>


ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 228 จูกัดเหลียงมอบหมายให้เตียวจูล่งและ[[เตงจี๋]]นำกองกำลังแยกไปยังหุบเขากิก๊ก ({{lang|zh|箕谷}} ''จีกู่'') แสร้งทำเป็นเข้าตีอำเภอไปเซีย (郿縣 ''เหมย์เซี่ยน''; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ[[อำเภอฝูเฟิง]] [[มณฑลฉ่านซี]]ในปัจจุบัน) ผ่านหุบเขาเสียดก๊กหรือจำก๊ก ({{lang|zh|斜谷}} ''เสียกู่'') ภารกิจของเตียวจูล่งและเตงจี๋คือเบี่ยงเบนความสนใจของ[[โจจิ๋น]]ขุนพลวุยก๊กระหว่างที่จูกัดเหลียงนำทัพหลักของจ๊กก๊กเข้าโจมตีเขากิสาน (祁山 ''ฉีชาน''; พื้นที่แถบภูเขาบริเวณบริเวณ[[อำเภอหลี่]] [[มณฑลกานซู่]]ในปัจจุบัน)<ref>([建興]六年春,揚聲由斜谷道取郿,使趙雲、鄧芝為疑軍,據箕谷,魏大將軍曹真舉衆拒之。亮身率諸軍攻祁山, ...) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 35.</ref><ref>(明年,亮出軍,揚聲由斜谷道,曹真遣大衆當之。亮令雲與鄧芝往拒,而身攻祁山。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 228 จูกัดเหลียงมอบหมายให้เตียวจูล่งและ[[เตงจี๋]]นำกองกำลังแยกไปยังหุบเขากิก๊ก ({{lang|zh|箕谷}} ''จีกู่'') แสร้งทำเป็นเข้าตีอำเภอไปเซีย (郿縣 ''เหมย์เซี่ยน''; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของ[[อำเภอฝูเฟิง]] [[มณฑลฉ่านซี]]ในปัจจุบัน) ผ่านหุบเขาเสียดก๊กหรือจำก๊ก ({{lang|zh|斜谷}} ''เสียกู่'') ภารกิจของเตียวจูล่งและเตงจี๋คือเบี่ยงเบนความสนใจของ[[โจจิ๋น]]ขุนพลวุยก๊กระหว่างที่จูกัดเหลียงนำทัพหลักของจ๊กก๊กเข้าโจมตีเขากิสาน (祁山 ''ฉีชาน''; พื้นที่แถบภูเขาบริเวณบริเวณ[[อำเภอหลี่]] [[มณฑลกานซู่]]ในปัจจุบัน)<ref>([建興]六年春,揚聲由斜谷道取郿,使趙雲、鄧芝為疑軍,據箕谷,魏大將軍曹真舉衆拒之。亮身率諸軍攻祁山, ...) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 35.</ref><ref>(明年,亮出軍,揚聲由斜谷道,曹真遣大衆當之。亮令雲與鄧芝往拒,而身攻祁山。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


เตียวจูล่งและเตงจี๋พ่ายแพ้ต่อโจจิ๋นในยุทธการที่หุบเขากิก๊กเพราะจูกัดเหลียงให้ทั้งคู่บัญชาการกองกำลังทหารที่อ่อนแอกว่าในขณะที่ตัวจูกัดเหลียงนำกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งกว่าเข้าโจมตีเขากิสาน อย่างไรก็ตาม เตียวจูล่งสามารถรวบรวมทหารให้เป็นแนวป้องกันที่แน่นหนาระหว่างการล่าถอย จึงสามารถลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด<ref>(亮令雲與鄧芝往拒,而身攻祁山。雲、芝兵弱敵彊,失利於箕谷,然歛衆固守,不至大敗。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
เตียวจูล่งและเตงจี๋พ่ายแพ้ต่อโจจิ๋นในยุทธการที่หุบเขากิก๊กเพราะจูกัดเหลียงให้ทั้งคู่บัญชาการกองกำลังทหารที่อ่อนแอกว่าในขณะที่ตัวจูกัดเหลียงนำกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งกว่าเข้าโจมตีเขากิสาน อย่างไรก็ตาม เตียวจูล่งสามารถรวบรวมทหารให้เป็นแนวป้องกันที่แน่นหนาระหว่างการล่าถอย จึงสามารถลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด<ref>(亮令雲與鄧芝往拒,而身攻祁山。雲、芝兵弱敵彊,失利於箕谷,然歛衆固守,不至大敗。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>
{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}


== เสียชีวิตและได้รับสมัญญานาม ==
== เสียชีวิตและได้รับสมัญญานาม ==
เตียวจูล่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 ได้รับสมัญญานามว่า "ชุ่นผิงโหว" ({{zh|t=順平侯|p=Shùnpíng hóu|labels=no}}) จาก[[เล่าเสี้ยน]]ในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 261<ref>(七年卒,追謚順平侯。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref><ref>([景耀]四年春三月,追謚故將軍趙雲。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 33.</ref>
เตียวจูล่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 ได้รับสมัญญานามว่า "ชุ่นผิงโหว" ({{zh|t=順平侯|p=Shùnpíng hóu|labels=no}}) จาก[[เล่าเสี้ยน]]ในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 261<ref>(七年卒,追謚順平侯。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref><ref>([景耀]四年春三月,追謚故將軍趙雲。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 33.</ref>


{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}


== ครอบครัว ==
== ครอบครัว ==
บุตรชายคนโตของเตียวจูล่งชื่อเตียวหอง ({{zh|t=趙統|p=Zhào Tǒng|labels=no}} ''เจ้า ถ่ง'') รับราชการเป็นทหารในหน่วย''หู่เปิน'' ({{lang|zh|虎賁}}) แห่งกองทหารราชองครักษ์<ref>(雲子統嗣,官至虎賁中郎,督行領軍。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
บุตรชายคนโตของเตียวจูล่งชื่อเตียวหอง ({{zh|t=趙統|p=Zhào Tǒng|labels=no}} ''เจ้า ถ่ง'') รับราชการเป็นทหารในหน่วย''หู่เปิน'' ({{lang|zh|虎賁}}) แห่งกองทหารราชองครักษ์<ref>(雲子統嗣,官至虎賁中郎,督行領軍。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


บุตรชายคนรองของเตียวจูล่งชื่อเตียวกอง ({{zh|t=趙廣|p=Zhào Guǎng|labels=no}} ''เจ้า กว่าง'') รับราชการเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ ({{lang|zh-hant|牙門將}} ''หยาเหมินเจี้ยง'') เตียวกองเข้าร่วมกับ[[เกียงอุย]]ขุนพลจ๊กก๊กใน[[การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย|การทัพ]]กับวุยก๊ก และถูกสังหารในที่รบที่ท่าจง (沓中; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ[[อำเภอโจฺวชฺวี]] [[มณฑลกานซู่]]ในปัจจุบัน)<ref>(次子廣,牙門將,隨姜維遝中,臨陳戰死。) ''จดหมายเหตุสามก๊ก'' เล่มที่ 36.</ref>
บุตรชายคนรองของเตียวจูล่งชื่อเตียวกอง ({{zh|t=趙廣|p=Zhào Guǎng|labels=no}} ''เจ้า กว่าง'') รับราชการเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ ({{lang|zh-hant|牙門將}} ''หยาเหมินเจี้ยง'') เตียวกองเข้าร่วมกับ[[เกียงอุย]]ขุนพลจ๊กก๊กใน[[การบุกขึ้นเหนือของเกียงอุย|การทัพ]]กับวุยก๊ก และถูกสังหารในที่รบที่ท่าจง (沓中; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ[[อำเภอโจฺวชฺวี]] [[มณฑลกานซู่]]ในปัจจุบัน)<ref>(次子廣,牙門將,隨姜維遝中,臨陳戰死。) ''สามก๊กจี่'' เล่มที่ 36.</ref>


== คำวิจารณ์ ==
== คำวิจารณ์ ==

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:58, 28 สิงหาคม 2567

เตียวจูล่ง (เจ้า ยฺหวิน)
趙雲
ภาพวาดของเตียวจูล่งสมัยราชวงศ์ชิง
ขุนพลพิทักษ์ทัพ (鎮軍將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – ค.ศ. 229 (229)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ต้นทศวรรษ 220 – ค.ศ. 227 (227)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 223 (223) – ป. ต้นทศวรรษ 220
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ขุนพลช่วยเหลือทัพ (翊軍將軍)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 214 (214) – ป. ต้นทศวรรษ 220
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
เจ้าเมืองฮุยเอี๋ยง (桂陽太守)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 209 (209) – ค.ศ. 214 (214)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ก่อนหน้าเตียวหอม
ขุนพลรอง (偏將軍)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ป. ค.ศ. 209 (209) – ค.ศ. 214 (214)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將軍)
(ภายใต้เล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 208 (208) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
อำเภอเจินติ้ง มณฑลเหอเป่ย์
เสียชีวิต229[1]
บุตร
  • เตียวหอง
  • เตียวกอง
อาชีพขุนพล
ชื่อรองจูล่ง/จื่อหลง (子龍)
สมัญญานามชุ่นผิงโหฺว
(順平侯)
บรรดาศักด์หย่งชางถิงโหฺว (永昌亭侯)

เตียวจูล่ง[a] (เสียชีวิต ค.ศ. 229)[1] มีชื่อสกุลและชื่อตัวในภาษาจีนกลางว่า เจ้า ยฺหวิน[b] (จีนตัวย่อ: 赵云; จีนตัวเต็ม: 趙雲; พินอิน: Zhào Yún; การออกเสียง) ชื่อรอง จูล่ง หรือภาษาจีนกลางว่า จื่อหลง (จีนตัวย่อ: 子龙; จีนตัวเต็ม: 子龍; พินอิน: Zǐlóng) เป็นขุนพลที่มีชีวิตในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและต้นยุคสามก๊กของจีน เดิมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของกองซุนจ้านขุนศึกภาคเหนือ ภายหลังไปรับใช้เล่าปี่ที่เป็นขุนศึกอีกคนหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาก็ได้ติดตามเล่าปี่ร่วมรบในการศึกโดยมาก ตั้งแต่ยุทธการที่เตียงปัน (ค.ศ. 208) ถึงยุทธการที่ฮันต๋ง (ค.ศ. 217-219) เตียวจูล่งรับราชการต่อมาในรัฐจ๊กก๊กซึ่งก่อตั้งโดยเล่าปี่ในปี ค.ศ. 221 ในยุคสามก๊ก และเข้าร่วมในการบุกขึ้นเหนือครั้งแรก จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 ในขณะที่ข้อเท็จจริงหลายอย่างเกี่ยวกับชีวประวัติของเตียวจูล่งยังไม่ชัดเจนเนื่องจากมีข้อมูลจำกัดในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แง่มุมและการกระทำบางอย่างในประวัติของเตียวจูล่งก็ได้รับการเสริมแต่งเกินจริงในคติชนพื้นบ้านและนวนิยาย ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก เตียวจูล่งได้รับการยกย่องให้เป็นสมาชิกของห้าทหารเสือของเล่าปี่

แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของชีวประวัติเตียวจูล่ง

[แก้]

ชีวประวัติหลักของเตียวจูล่งอยู่ในสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ) เขียนโดยตันซิ่วในศตวรรษที่ 3 โดยมีข้อความยาวเพียง 346 อักษรจีน ในศตวรรษที่ 5 เผย์ ซงจือเพิ่มอรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน (趙雲別傳; ชีวประวัติอย่างไม่เป็นทางการของเจ้า ยฺหวิน) ให้กับบทชีวประวัติเตียวจูล่งในสามก๊กจี่ ซึ่งให้ภาพชีวประวัติของเตียวจูล่งที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์

การรับราชการช่วงต้นกับกองซุนจ้าน

[แก้]
เตียวจูล่งแสดงวีรกรรมต่อหน้ากองซุนจ้าน ภาพวาดจากนวนิยายอิงประวัติศาสตร์สามก๊กฉบับตีพิมพ์ในสมัยราชวงศ์ชิง

เตียวจูล่งเป็นชาวอำเภอจีนเต๋ง (真定 เจินติ้ง) เมืองเสียงสัน[c] (常山 ฉางชาน)[7] ในเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านบรรยายลักษณะภายนอกของเตียวจูล่งว่าสูง 8 ฉื่อ (ประมาณ 184 เซนติเมตร) มีรูปลักษณ์ที่สง่างามและน่าประทับใจ[8]

หลังจากที่ได้รับการแนะนำจากเจ้าเมืองเสียงสันให้เข้ารับราชการ เตียวจูล่งจึงนำอาสาสมัครกลุ่มเล็ก ๆ ไปเข้าร่วมกับกองซุนจ้าน ขุนศึกในมณฑลอิวจิ๋ว[9] เวลานั้น ขุนศึกอ้วนเสี้ยวมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นหลังได้รับการแต่งตั้งให้ให้เป็นเจ้ามณฑลกิจิ๋ว กองซุนจ้านจึงกังวลว่าราษฎรจำนวนมากในมณฑลอิวจิ๋วจะเลือกรับใช้อ้วนเสี้ยวแทนที่จะเป็นตน[10]

เมื่อเตียวจูล่งมาพบกองซุนจ้านพร้อมกับกลุ่มอาสาสมัคร กองซุนจ้านถามอย่างดูถูกว่า "ข้าได้ยินมาว่าทุกคนในมณฑลบ้านเกิดของท่าน[d]ต้องการรับใช้ตระกูลอ้วน เหตุใดมีเฉพาะพวกท่านที่มีใจผันแปรไป สับสนจนคิดผิดหรือ"[11] เตียวจูล่งตอบว่า "แผ่นดินกำลังโกลาหล ใครถูกใครผิดไม่ชัดแจ้ง ผู้คนตกอยู่ในอันตราย เหล่าคนที่อยู่ในมณฑลบ้านเกิดของข้าหลังจากไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงตัดสินใจจะติดตามนายผู้ปกครองด้วยคุณธรรม ข้าจึงเลือกเข้ามาร่วมกับท่านขุนพลแทนที่จะเป็นท่านอ้วน" กองซุนจ้านจึงยอมรับเตียวจูล่ง ภายหลังเตียวจูล่งจึงได้ร่วมในฝ่ายกองซุนจ้านในยุทธการกับทัพอริหลายครั้ง[12]

พบกับเล่าปี่

[แก้]

ราวต้นทศวรรษ 190 เตียวจูล่งพบกับเล่าปี่ซึ่งเวลานั้นมาอยู่พึ่งกองซุนจ้าน เตียวจูล่งสนิทสนมกับเล่าปี่อย่างมากและต้องการจะเปลี่ยนมาภักดีต่อเล่าปี่[13] เมื่อกองซุนจ้านส่งเล่าปี่ไปช่วยเต๊งไก๋ที่เป็นพันธมิตรในยุทธการที่รบกับอ้วนเสี้ยว เตียวจูล่งติดตามเล่าปี่ไปด้วยและทำหน้าที่เป็นนายทหารม้าของเล่าปี่[14]

เมื่อเตียวจูล่งได้รับข่าวการเสียชีวิตของพี่ชาย ได้มาขอลาราชการชั่วคราวกับเล่าปี่เพื่อไปไว้อาลัยให้พี่ชาย เล่าปี่รู้ว่าเมื่อเตียวจูล่งไปแล้วจะไม่กลับมาจึงกุมมือของเตียวจูล่งพร้อมบอกลา ก่อนเตียวจูล่งจะจากไปได้กล่าวกับเล่าปี่ว่า "ข้าจะไม่ลืมบุญคุณของท่านเลย"[15]

รับใช้เล่าปี่

[แก้]

ต้นปี ค.ศ. 200 เล่าปี่สูญเสียฐานอำนาจในมณฑลชีจิ๋วให้กับโจโฉที่เป็นอริ เล่าปี่หนีไปทางเหนือข้ามแม่น้ำฮองโห (แม่น้ำเหลือง) และลี้ภัยไปพึ่งอ้วนเสี้ยว ศัตรูของโจโฉ[16] ช่วงเวลาเดียวกันนั้น เตียวจูล่งก็เดินทางไปยังเงียบกุ๋นอันเป็นที่ตั้งที่ว่าการของอ้วนเสี้ยวซึ่งได้พบกับเล่าปี่อีกครั้งที่นั่น เตียวจูล่งและเล่าปี่อยู่ร่วมห้องเดียวกันในช่วงที่อาศัยอยู่ในเงียบกุ๋น[17]

เล่าปี่ลอบสั่งการกับเตียวจูล่งให้ช่วยรวบรวมทหารได้หลายร้อยนายที่เต็มใจจะติดตามตน อ้างว่าทหารเหล่านี้รับใช้ขุนพลซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจฺวิน)[e] อ้วนเสี้ยวไม่รู้เรื่องดังกล่าวนี้ จากนั้นเตียวจูล่งพร้อมด้วยเล่าปี่และผู้ติดตามจึงตีจากอ้วนเสี้ยวและมุ่งลงใต้ไปเข้าร่วมกับเล่าเปียว เจ้ามณฑลเกงจิ๋ว[19]

ยุทธการที่พกบ๋อง

[แก้]

ในปี ค.ศ. 202 เมื่อโจโฉนำทัพขึ้นไปรบในการทัพทางเหนือของจีนเพื่อรบกับเหล่าบุตรชายของอ้วนเสี้ยวและพันธมิตร เล่าปี่ถือโอกาสที่โจโฉไม่อยู่นำกองกำลังเข้าโจมตีดินแดนของโจโฉในภาคกลางของจีน โจโฉส่งขุนพลแฮหัวตุ้นและคนอื่น ๆ นำทัพไปต้านเล่าปี่[20][21]

ระหว่างยุทธการ เตียวจูล่งจับตัวแฮหัวอัน (夏侯蘭 เซี่ยโหฺว หลาน) เพื่อนเก่าที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันกับตน เตียวจูล่งขอร้องเล่าปี่ให้ไว้ชีวิตแฮหัวอันและแนะนำให้รับแฮหัวอันมารับราชการเป็นตุลาการทัพเพราะตนรู้ว่าแฮหัวอันมีความรู้เรื่องกฎหมาย[22] เตียวจูล่งได้รับการยกย่องในเรื่องความรอบคอบระมัดระวังเกี่ยวกับการวางตัวในเรื่องความสัมพันธ์กับแฮหัวอันแม้ว่าจะเป็นเพื่อนกันก็ตาม[23]

ยุทธการที่เตียงปัน

[แก้]
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในเฉลียงยาวที่พระราชวังฤดูร้อนในกรุงปักกิ่ง แสดงภาพเตียวจูล่ง (คนขี่ม้าชุดสีขาว) ในยุทธการที่เตียงปัน

หลังเล่าเปียวเสียชีวิตในปี ค.ศ. 208 เล่าจ๋องบุตรชายคนเล็กของเล่าเปียวสืบทอดตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว เมื่อโจโฉเริ่มการทัพในปีเดียวกันเพื่อจัดการกับกองกำลังข้าศึกในภาคใต้ของจีน เล่าจ๋องยอมสวามิภักดิ์และมอบมณฑลเกงจิ๋วให้กับโจโฉ เล่าปี่และผู้ติดตามทิ้งฐานที่มั่นในอำเภอซินเอี๋ย (新野 ซินเย่) และมุ่งหน้าลงใต้ไปยังแฮเค้า (夏口 เซี่ยโขฺ่ว) ซึ่งรักษาโดยเล่ากี๋บุตรชายคนโตของเล่าเปียวและเป็นอิสระจากการยึดครองของโจโฉ[24]

โจโฉนำกองกำลังทหารม้าฝีมือดี 5,000 นายด้วยตนเองออกไล่ตามเล่าปี่ และไล่ตามเล่าปี่ทันที่เตียงปัน (長坂 ฉางป่าน) ตีกองกำลังของเล่าปี่แตกพ่ายยับเยิน ระหว่างที่เล่าปี่ทิ้งครอบครัวหนี[25] เตียวจูล่งอุ้มเล่าเสี้ยนบุตรชายที่ยังเด็กของเล่าปี่และคุ้มครองกำฮูหยินภรรยาของเล่าปี่ (มารดาของเล่าเสี้ยน) ในระหว่างยุทธการและพาไปยังที่ปลอดภัย ภายหลังเตียวจูล่งได้เลื่อนยศเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將軍 หยาเหมินเจียงจฺวิน) ตอบแทนความอุตสาหะ[26]

ก่อนหน้านี้หลังจากพ่ายแพ้ที่เตียงปัน เล่าปี่ได้ยินข่าวลือว่าเตียวจูล่งทรยศตนไปเข้าด้วยฝ่ายโจโฉ เล่าปี่ปฏิเสธที่จะเชื่อข่าวลือ ขว้างทวนจี่สั้นลงกับพื้นและพูดว่า "จูล่งไม่ทอดทิ้งข้าหนีไปแน่" คำพูดของเล่าปี่ถูกต้องเพราะเตียวจูล่งกลับมาหาเล่าปี่หลังจากนั้นอีกไม่นาน[27]

ในฤดูหนาว ค.ศ. 208–209 เล่าปี่เป็นพันธมิตรกับขุนศึกซุนกวนและเอาชนะโจโฉได้อย่างเด็ดขาดในยุทธการที่เซ็กเพ็ก โจโฉถอยหนีขึ้นเหนือหลังพ่ายแพ้ เล่าปี่และซุนกวนก็รุกคืบยึดได้เมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น) ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การครอบครองของโจโฉ[28]

ในฐานะเจ้าเมืองฮุยเอี๋ยง

[แก้]

ภายหลังเตียวจูล่งได้เลื่อนขึ้นขึ้นเป็นขุนพลรอง (偏將軍 เพียนเจียงจฺวิน) สำหรับผลงานที่ช่วยเล่าปี่ในการพิชิตสี่เมืองทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋วคือเตียงสา (長沙 ฉางชา) เลงเหลง (零陵 หลิงหลิง) บุเหลง (武陵 อู่หลิง) และฮุยเอี๋ยง (桂陽 กุ้ยหยาง) หลังจากยึดได้เมืองฮุยเอี๋ยงแล้ว เล่าปี่ตั้งให้เตียวจูล่งเป็นเจ้าเมืองฮุยเอี๋ยงคนใหม่แทนที่เตียวหอม[29]

เตียวหอมมีพี่สะใภ้ที่เป็นหม้ายและมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงาม เตียวหอมต้องการจะจัดการให้พี่สะใภ้ได้แต่งงานกับเตียวจูล่งเพื่อสร้างสายสัมพันธ์กับเตียวจูล่ง แต่เตียวจูล่งปฏิเสธความคิดนี้และพูดกับเตียวหอมว่า "เรามีสกุลเดียวกัน พี่ชายของท่านก็เหมือนพี่ชายของข้าเช่นกัน"[30]

มีคนอื่น ๆ ที่โน้มน้าวให้เตียวจูล่งยอมรับการแต่งงานแต่เตียวจูล่งปฏิเสธอย่างหนักแน่นพูดว่า "เตียวหอมถูกบังคับให้ยอมจำนนเพราะสถานการณ์พาไป เจตนาของเขายังไม่แน่ชัดและน่าสงสัย นอกจากนี้ในแผ่นดินนี้ยังมีสตรีอื่นอีกมากมาย" ไม่นานหลังจากนั้น เตียวหอมหลบหนีไป และเตียวจูล่งก็สามารถหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ใด ๆ กับเตียวหอมไปได้เพราะไม่เห็นด้วยกับการแต่งงาน[31]

รักษาเกงจิ๋ว

[แก้]

ราวปี ค.ศ. 211 เล่าปี่นำทัพยกไปทางตะวันตกเข้ามณฑลเอ๊กจิ๋วเพื่อไปช่วยเล่าเจี้ยงเจ้ามณฑลเอ๊กจิ๋วในการรบต้านเตียวฬ่อที่เป็นขุนศึกคู่อริแห่งฮันต๋ง (漢中 ฮั่นจง) เตียวจูล่งและคนอื่น ๆ ยังอยู่รักษามณฑลเกงจิ๋ว[32][33][28]

ก่อนหน้านี้เมื่อราวปี ค.ศ. 209[28] เล่าปี่แต่งงานกับซุนฮูหยินน้องสาวของซุนกวนเพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรระหว่างเล่าปี่และซุนกวน ซุนฮูหยินยังคงอยู่ในมณฑลเกงจิ๋วเมื่อเล่าปี่จากไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว ซุนฮูหยินถือตนว่าเป็นน้องสาวของขุนศึกผู้ทรงอำนาจ จึงแสดงท่าทีหยิ่งยโสและกระทำตามอำเภอใจ และยังปล่อยให้องครักษ์และผู้รับใช้ส่วนตัวประพฤติผิดกฎหมายในมณฑลเกงจิ๋ว ด้วยเหตุนี้เล่าปี่จึงแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษให้เตียวจูล่งที่ตนถือว่าเป็นบุคคลที่จริงจังและมีมโนธรรมให้ดูแลกิจการภายในมณฑลเกงจิ๋ว รวมถึงรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยระหว่างที่เล่าปี่ไม่อยู่[34] เมื่อซุนกวนได้ยินว่าเล่าปี่จากไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว จึงส่งเรือไปรับตัวน้องสาวกลับ ซุนฮูหยินพยายามพาตัวเล่าเสี้ยนบุตรชายของเล่าปี่ไปด้วยกัน แต่เตียวจูล่งและเตียวหุยนำทหารมาขัดขวางและพาเล่าเสี้ยนกลับมาได้[35]

ฮั่นจิ้นชุนชิว (漢晉春秋) ที่เขียนโดยสี จั้วฉื่อนักประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์จิ้น ให้รายละเอียดของเหตุการณ์นี้ที่คล้ายคลึงกันกับที่บันทึกในเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้าน[36]

ยึดครองเอ๊กจิ๋ว

[แก้]

ยุทธการที่แม่น้ำฮั่นซุย

[แก้]

ยุทธการที่อิเหลง

[แก้]

รับใช้เล่าเสี้ยน

[แก้]

หลังเล่าปี่สวรรคตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 223 เล่าเสี้ยนผู้เป็นโอรสขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก โดยมีอัครมหาเสนาบดีจูกัดเหลียงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะเวลานั้นเล่าเสี้ยนยังทรงพระเยาว์[37] หลังเล่าเสี้ยนขึ้นครองราชย์ได้ทรงแต่งตั้งเตียวจูล่งเป็นผู้พิทักษ์ทัพกลาง (中護軍 จงฮู่จฺวิน) และขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南將軍 เจิงหนานเจียงจฺวิน) และพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหย่งชางถิงโหว (永昌亭侯) ภายหลังพระองค์เลื่อนขั้นเตียวจูล่งเป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน)[38]

ยุทธการที่กิก๊ก

[แก้]

ในปี ค.ศ. 227 เตียวจูล่งย้ายไปยังพื้นที่ระดมพลที่เมืองฮันต๋งเพื่อเข้าร่วมกับจูกัดเหลียงซึ่งกำลังระดมกำลังทหารจากทั่วจ๊กก๊กเพื่อเตรียมการสำหรับการทัพครั้งใหญ่ต่อวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก[39][40]

ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 228 จูกัดเหลียงมอบหมายให้เตียวจูล่งและเตงจี๋นำกองกำลังแยกไปยังหุบเขากิก๊ก (箕谷 จีกู่) แสร้งทำเป็นเข้าตีอำเภอไปเซีย (郿縣 เหมย์เซี่ยน; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอฝูเฟิง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน) ผ่านหุบเขาเสียดก๊กหรือจำก๊ก (斜谷 เสียกู่) ภารกิจของเตียวจูล่งและเตงจี๋คือเบี่ยงเบนความสนใจของโจจิ๋นขุนพลวุยก๊กระหว่างที่จูกัดเหลียงนำทัพหลักของจ๊กก๊กเข้าโจมตีเขากิสาน (祁山 ฉีชาน; พื้นที่แถบภูเขาบริเวณบริเวณอำเภอหลี่ มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)[41][42]

เตียวจูล่งและเตงจี๋พ่ายแพ้ต่อโจจิ๋นในยุทธการที่หุบเขากิก๊กเพราะจูกัดเหลียงให้ทั้งคู่บัญชาการกองกำลังทหารที่อ่อนแอกว่าในขณะที่ตัวจูกัดเหลียงนำกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งกว่าเข้าโจมตีเขากิสาน อย่างไรก็ตาม เตียวจูล่งสามารถรวบรวมทหารให้เป็นแนวป้องกันที่แน่นหนาระหว่างการล่าถอย จึงสามารถลดความสูญเสียให้เหลือน้อยที่สุด[43]

เสียชีวิตและได้รับสมัญญานาม

[แก้]

เตียวจูล่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 ได้รับสมัญญานามว่า "ชุ่นผิงโหว" (順平侯; Shùnpíng hóu) จากเล่าเสี้ยนในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ค.ศ. 261[44][45]

ครอบครัว

[แก้]

บุตรชายคนโตของเตียวจูล่งชื่อเตียวหอง (趙統; Zhào Tǒng เจ้า ถ่ง) รับราชการเป็นทหารในหน่วยหู่เปิน (虎賁) แห่งกองทหารราชองครักษ์[46]

บุตรชายคนรองของเตียวจูล่งชื่อเตียวกอง (趙廣; Zhào Guǎng เจ้า กว่าง) รับราชการเป็นขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง) เตียวกองเข้าร่วมกับเกียงอุยขุนพลจ๊กก๊กในการทัพกับวุยก๊ก และถูกสังหารในที่รบที่ท่าจง (沓中; อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอโจฺวชฺวี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)[47]

คำวิจารณ์

[แก้]

ในนิยายสามก๊ก

[แก้]

วีรกรรมที่เกิดขึ้นจริงของเตียวจูล่งในหลายเหตุการณ์ได้รับการเสริมแต่งอย่างมากในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ในนวนิยายแสดงบทบาทของเตียวจูล่งในฐานะนักรบที่แทบจะสมบูรณ์แบบ ผู้มีทักษะการต่อสู้ที่ทรงพลัง ภักดีต่อเจ้านายอย่างไม่เปลี่ยนแปลง มีความกล้าหาญอย่างสูง มีสติปัญญาเฉียบแหลม และมีความสุขุมเยือกเย็น ลักษณะเหล่านี้มักได้รับการสะท้อนในสื่อร่วมสมัยเกี่ยวกับเตียวจูล่งเกือบทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน

ดูเรื่องแต่งบางเรื่องเกี่ยวกับเตียวจูล่งในนวนิยายสามก๊กในรายการต่อไปนี้:

ในวัฒนธรรมประชานิยม

[แก้]

ภาพยนตร์

[แก้]
  • จูล่งเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของจีน สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร กำกับโดย แดเนียล ลี และ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ กำกับโดยจอห์น วู
  • จูล่งเป็นตัวละครเอกในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร รับบทแสดงนำโดยหลิวเต๋อหัว ในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของจูล่งตั้งแต่สมัครเป็นทหารจนถึงศึกครั้งสุดท้ายกับวุยก๊ก แต่เนื่องจากภาพยนตร์ได้ดัดแปลงเรื่องราวของจูล่งไปอย่างมากจนผิดเพี้ยนไปทั้งจากมากในนิยายและในประวัติศาสตร์ ทำให้ถูกวิจารณ์กันมาก แต่ก็ถือว่าเป็นภาพยนตร์สามก๊กเรื่องแรกที่นำจูล่งมาเป็นตัวเอกของเรื่อง
  • ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ จูล่งรับบทฮูจุน โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ จูล่งปรากฏตัวครั้งแรกในศึกทุ่งเตียงปันเกี้ยว โดยเป็นผู้ช่วยนำพาอาเต๊าบุตรของเล่าปี่ฝ่าทัพของโจโฉ และได้มีบทบาทในการรบอีกหลายครั้ง ในสงครามระหว่างฝ่ายโจโฉและฝ่ายพันธมิตรเล่าปี่ซุนกวน ทั้งสงครามภาคพื้นดินและสงครามประชิดค่ายโจโฉ

ละครโทรทัศน์

[แก้]

การ์ตูน

[แก้]

วิดีโอเกม

[แก้]
  • จูล่งเป็นตัวละครแบบบังคับได้ในเกมซีรีส์ Dynasty Warriors
  • จูล่งเป็นนายทหารในเกมซีรีส์ Romance of the Three Kingdoms
  • จูล่งเป็นต้นแบบตัวละครในเกม League of Legends คือ Xin Zhao และมีสกิน Warring Kingdoms ที่อ้างอิงจากจูล่ง
  • จูล่งเป็นตัวละครในเกม OMG SAMKOK 2
  • จูล่งเป็นนายทหารในเกมซีรีส์ Total war Three kingdoms
  • จูล่งเป็นตัวละครในเกม Mobile Legends: Bang Bang

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "เตียวจูล่ง" เป็นชื่อเรียกที่มาจากแซ่กับชื่อรองรวมกัน ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)ปรากฏการเรียกด้วยชื่อ "เตียวจูล่ง" ในตอนที่ 37[2] และตอนที่ 63[3] ในขณะที่ตอนอื่น ๆ เรียกด้วยเพียงชื่อรองว่า "จูล่ง"
  2. แซ่ "เจ้า" (趙) ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)เรียกเป็นสกุล "เตียว"[3] เหมือนกับสกุล "จาง" (張) ในขณะที่ชื่อตัวของเตียวจูล่งว่า "ยฺหวิน" (雲) ไม่มีการระบุถึงในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) คำว่า "ยฺหวิน" นี้ในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า "หุน" (hûn)
  3. ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ปรากฏการเรียกเมืองฉางชาน (常山) เป็น 3 ชื่อ ได้แก่ เสียงสัน[4], เซียงสัน[5] และเสียงสาน[6]
  4. เมืองเสียงสันอยู่ในเขตมณฑลกิจิ๋ว
  5. เล่าปี่ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนพลซ้าย (左將軍 จั่วเจียงจฺวิน) จากราชสำนักฮั่นในช่วงต้นปี ค.ศ. 199 หลังยุทธการที่แห้ฝือ[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 de Crespigny (2007), p. 1114.
  2. ("โจหองได้ยินโจโฉถาม ก็ขับม้ารีบลงไปจากเนินเข้าสกัดหน้าจูล่งไว้ แล้วก็ร้องถามว่าท่านนี้ชื่อใด จูล่งจึงร้องบอกว่าเราชื่อเตียวจูล่ง") "สามก๊ก ตอนที่ ๓๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 16, 2024.
  3. 3.0 3.1 ("เตียวจูล่งจึงทูลว่า ซึ่งโจผีขบถนั้นเปนข้อใหญ่ มิใช่แต่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินจะเจ็บแค้น ถึงเทพดาก็มีความแค้น ...เตียวจูล่งจึงทูลว่า ความแค้นข้างโจผีนี้ให้เจ็บใจทั่วกัน ทั้งขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยแลราษฎรทั้งปวง ฝ่ายความแค้นข้างซุนกวนนี้ให้เจ็บใจแต่พระองค์เปนแต่พี่น้อง ขอให้พระองค์ไปแก้แค้นโจผีเถิด เห็นว่าจะชอบใจคนทั้งปวง...พระเจ้าเล่าปี่จึงว่า ถ้าเราไม่แก้แค้นแทนน้องเราได้ คนทั้งปวงก็จะเห็นว่าเราหามีความสัตย์ไม่ เราไม่ฟังคำเตียวจูล่งห้ามแล้ว...แล้วจึงจัดแจงกองทัพสั่งให้เตียวจูล่งเปนทัพหนุนคุมลำเลียง") "สามก๊ก ตอนที่ ๖๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 6, 2023.
  4. ("โจโฉตั้งกองทัพอยู่ที่สูงแลไปเห็นก็ตกใจ จึงถามทหารทั้งปวงว่า คนนี้คือผู้ใด ทหารทั้งปวงจึงบอกว่า เปนชาวบ้านเสียงสันชื่อจูล่ง") "สามก๊ก ตอนที่ ๕๗". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 28, 2024.
  5. ("กองซุนจ้านจึงออกมาจากเงื้อมเขา เห็นทหารคนนั้นสูงประมาณหกศอก หน้าผากแลคิ้วใหญ่ตาโต จึงถามว่าท่านนี้ชื่อใด มาช่วยเรานี้ขอบใจนัก จูล่งย่อตัวลงคำนับแล้วว่า ข้าพเจ้าชื่อจูล่งแซ่เตียว อยู่ณเมืองเซียงสัน") "สามก๊ก ตอนที่ ๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 28, 2024.
  6. ("นางงอก๊กไถ้เห็นจูล่งแต่งตัวเปนทหารเหน็บกระบี่เดิรเข้ามายืนแอบหลังเล่าปี่อยู่ จึงถามเล่าปี่ว่าทหารคนนี้ชื่อใด เล่าปี่บอกว่าชื่อจูล่ง เปนแซ่เตียวชาวเมืองเสียงสาน") "สามก๊ก ตอนที่ ๔๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 28, 2024.
  7. (趙雲字子龍,常山真定人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  8. (雲別傳曰:雲身長八尺,姿顏雄偉, ...) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  9. (... 為本郡所舉,將義從吏兵詣公孫瓚。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  10. (時袁紹稱兾州牧,瓚深憂州人之從紹也, ...) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  11. (... 善雲來附,嘲雲曰:「聞貴州人皆願袁氏,君何獨迴心,迷而能反乎?」) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  12. (雲荅曰:「天下訩訩,未知孰是,民有倒縣之厄,鄙州論議,從仁政所在,不為忽袁公私明將軍也。」遂與瓚征討。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  13. (時先主亦依託瓚,每接納雲,雲得深自結託。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  14. (本屬公孫瓚,瓚遣先主為田楷拒袁紹,雲遂隨從,為先主主騎。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  15. (雲以兄喪,辭瓚暫歸,先主知其不反,捉手而別,雲辭曰:「終不背德也。」) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  16. Sima (1084), vol. 63.
  17. (先主就袁紹,雲見於鄴。先主與雲同床眠卧, ...) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  18. (助先主圍布於下邳,生禽布。先主復得妻子,從曹公還許。表先主為左將軍, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  19. (... 密遣雲合募得數百人,皆稱劉左將軍部曲,紹不能知。遂隨先主至荊州。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  20. Sima (1084), vol. 64.
  21. (先是,與夏侯惇戰於博望, ...) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  22. (... 生獲夏侯蘭。蘭是雲鄉里人,少小相知,雲白先主活之,薦蘭明於法律,以為軍正。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  23. (雲不用自近,其慎慮類如此。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  24. Sima (1084), vol. 65.
  25. (曹公以江陵有軍實,恐先主據之,乃釋輜重,輕軍到襄陽。聞先主已過,曹公將精騎五千急追之,一日一夜行三百餘里,及於當陽之長坂。先主棄妻子,與諸葛亮、張飛、趙雲等數十騎走,曹公大獲其人衆輜重。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 32.
  26. (及先主為曹公所追於當陽長阪,棄妻子南走,雲身抱弱子,即後主也,保護甘夫人,即後主母也,皆得免難。遷為牙門將軍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  27. (雲別傳曰:初,先主之敗,有人言雲已北去者,先主以手戟擿之曰:「子龍不棄我走也。」頃之,雲至。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  28. 28.0 28.1 28.2 Sima (1084), vol. 66.
  29. (從平江南,以為偏將軍,領桂陽太守,代趙範。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  30. (範寡嫂曰樊氏,有國色,範欲以配雲。雲辭曰:「相與同姓,卿兄猶我兄。」固辭不許。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  31. (時有人勸雲納之,雲曰:「範迫降耳,心未可測;天下女不少。」遂不取。範果逃走,雲無纖介。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  32. (先主入蜀,雲留荊州。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  33. (先主入益州,雲領留營司馬。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  34. (此時先主孫夫人以權妹驕豪,多將吳吏兵,縱橫不法。先主以雲嚴重,必能整齊,特任掌內事。) อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  35. (權聞備西征,大遣舟船迎妹,而夫人內欲將後主還吳,雲與張飛勒兵截江,乃得後主還。) 'อรรถาธิบายจากเจ้ายฺหวินเปี๋ยจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  36. (漢晉春秋云:先主入益州,吳遣迎孫夫人。夫人欲將太子歸吳,諸葛亮使趙雲勒兵斷江留太子,乃得止。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 34.
  37. Sima (1084), vol. 70.
  38. (建興元年,為中護軍、征南將軍,封永昌亭侯,遷鎮東將軍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  39. ([建興]五年,隨諸葛亮駐漢中。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  40. [建興]五年,率諸軍北駐漢中, ...] สามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
  41. ([建興]六年春,揚聲由斜谷道取郿,使趙雲、鄧芝為疑軍,據箕谷,魏大將軍曹真舉衆拒之。亮身率諸軍攻祁山, ...) สามก๊กจี่ เล่มที่ 35.
  42. (明年,亮出軍,揚聲由斜谷道,曹真遣大衆當之。亮令雲與鄧芝往拒,而身攻祁山。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  43. (亮令雲與鄧芝往拒,而身攻祁山。雲、芝兵弱敵彊,失利於箕谷,然歛衆固守,不至大敗。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  44. (七年卒,追謚順平侯。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  45. ([景耀]四年春三月,追謚故將軍趙雲。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 33.
  46. (雲子統嗣,官至虎賁中郎,督行領軍。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  47. (次子廣,牙門將,隨姜維遝中,臨陳戰死。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 36.
  48. "สวยหรูในชุดจีน "ยุนอา" ในบทเมีย "จูล่ง"". ผู้จัดการออนไลน์. 24 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-25. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.