ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัญชะลี ไพรีรัก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
จนกระทั่งในต้นปี [[พ.ศ. 2549]] ที่กลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]ได้เริ่มต้น[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] อย่างจริงจังแล้ว อัญชะลีจึงได้เข้าร่วมและได้ร่วมจัดรายการบนเวทีและใน[[เมืองไทยรายสัปดาห์|รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง]] คู่กับ[[ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที]] ในรายการชื่อ "ติดดาบปลายปืน" แต่มิได้เป็นพนักงานใน[[หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ|เครือผู้จัดการ]]แต่อย่างใด
จนกระทั่งในต้นปี [[พ.ศ. 2549]] ที่กลุ่ม[[พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย]]ได้เริ่มต้น[[การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี|การขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร]] อย่างจริงจังแล้ว อัญชะลีจึงได้เข้าร่วมและได้ร่วมจัดรายการบนเวทีและใน[[เมืองไทยรายสัปดาห์|รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง]] คู่กับ[[ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที]] ในรายการชื่อ "ติดดาบปลายปืน" แต่มิได้เป็นพนักงานใน[[หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ|เครือผู้จัดการ]]แต่อย่างใด


หลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร]] ได้เดินทางไปเรียนต่อที่[[ประเทศออสเตรเลีย]]ได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับมา จากนั้นใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550]] อัญชลีได้ลงสมัครรับเลือกตั้งใน จ.สมุทรปราการ สังกัด[[พรรคเพื่อแผ่นดิน]] อันเนื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มีกับแกนนำพรรค แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
หลังการ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหาร]] ได้เดินทางไปเรียนต่อที่[[ประเทศออสเตรเลีย]]ได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับมา จากนั้นใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550|การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550]] อัญชลีได้ลงสมัครรับเลือกตั้งใน จังหวัดสมุทรปราการ สังกัด[[พรรคเพื่อแผ่นดิน]] อันเนื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มีกับแกนนำพรรค แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง


ใน[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551]] อัญชะลีได้กลับมาร่วมชุมนุมอีกครั้ง โดยเป็นผู้จัดรายการเล่าข่าวตอนเช้าบนเวทีคู่กับ[[กมลพร วรกุล]] ภายหลังการชุมนุมยุติลงก็ได้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการเคาะข่าวริมโขงและแขกรับเชิญรายการสภาท่าพระอาทิตย์ทุกวันจันทร์และศุกร์ และมีรายการประจำ ชื่อ "จับตาประเทศไทย" ออกอากาศทุกคืน[[วันอาทิตย์]] 20.30 - 21.00 น.ทาง [[เอเอสทีวี]] เป็นรายการเล่าข่าวทั่วไป
ใน[[การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551]] อัญชะลีได้กลับมาร่วมชุมนุมอีกครั้ง โดยเป็นผู้จัดรายการเล่าข่าวตอนเช้าบนเวทีคู่กับ[[กมลพร วรกุล]] ภายหลังการชุมนุมยุติลงก็ได้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการเคาะข่าวริมโขงและแขกรับเชิญรายการสภาท่าพระอาทิตย์ทุกวันจันทร์และศุกร์ และมีรายการประจำ ชื่อ "จับตาประเทศไทย" ออกอากาศทุกคืน[[วันอาทิตย์]] 20.30 - 21.00 น.ทาง [[เอเอสทีวี]] เป็นรายการเล่าข่าวทั่วไป
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
ต่อมา อัญชะลีได้ยุติรายการทั้งหมดทางเอเอสทีวี และสื่อต่าง ๆ ในเครือผู้จัดการหมดแล้ว โดยมีเสียงร่ำลือกระแสหนึ่งกล่าวว่า ได้ออกไปทำงานส่วนตัว และเป็นเลขานุการให้กับ นาย[[จุติ ไกรฤกษ์]] รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]] <ref>[http://www.thaiindexnews.com/2011/02/19.html ทำไม "ม็อบแดง" เติบโต ทำไม "ม็อบเหลือง" ถดถอย จับตา 19 ก.พ. "สึนามิแดง" มาแล้ว]</ref> ส่วนอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ได้เป็นบรรณาธิการให้กับนิตยสารท่องเที่ยว<ref>[http://onknow.blogspot.com/2011/02/19-2554.html ทำไม ปอง อัญชะลี หายไปจากเวทีพันธมิตร (19 ก.พ.2554)]</ref>
ต่อมา อัญชะลีได้ยุติรายการทั้งหมดทางเอเอสทีวี และสื่อต่าง ๆ ในเครือผู้จัดการหมดแล้ว โดยมีเสียงร่ำลือกระแสหนึ่งกล่าวว่า ได้ออกไปทำงานส่วนตัว และเป็นเลขานุการให้กับ นาย[[จุติ ไกรฤกษ์]] รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร]] <ref>[http://www.thaiindexnews.com/2011/02/19.html ทำไม "ม็อบแดง" เติบโต ทำไม "ม็อบเหลือง" ถดถอย จับตา 19 ก.พ. "สึนามิแดง" มาแล้ว]</ref> ส่วนอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ได้เป็นบรรณาธิการให้กับนิตยสารท่องเที่ยว<ref>[http://onknow.blogspot.com/2011/02/19-2554.html ทำไม ปอง อัญชะลี หายไปจากเวทีพันธมิตร (19 ก.พ.2554)]</ref>


ปัจจุบัน อัญชะลีเป็นผู้จัดรายการวิทยุทางคลื่น F.M. 101 MHz เป็นประจำทุก[[วันเสาร์]]-[[วันอาทิตย์|อาทิตย์]] เวลา 07.30-9.00 น.
ปัจจุบัน อัญชะลีเป็นผู้จัดรายการ "ร้อยข่าวบลูสกาย" และ"ร้อยข่าวสุดสัปดาห์" ทาง[[บลูสกายแชนแนล]]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:50, 14 พฤษภาคม 2556

อัญชะลี ไพรีรัก

อัญชะลี ไพรีรัก [1] (25 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - ) อดีตผู้ประกาศข่าวทางช่อง 7 มีบทบาททั้งในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 และเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยเฉพาะเมื่อปี พ.ศ. 2551 เป็นผู้จัดรายการเล่าข่าวยามเช้าบนเวทีปราศรัย

ประวัติ

อัญชะลี ไพรีรัก เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน มีชื่อเล่นว่า "ปอง" จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีสมุทรปราการ และโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เริ่มต้นชีวิตการทำงานจากการเป็นนักข่าวทำข่าวเศรษฐกิจและข่าวทั่วไป เช่น ข่าวประกวดนางงาม ประกวดต้นไม้ จนถึงประกวดสุนัข ให้แก่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จากนั้นเป็นผู้สื่อข่าวการตลาดหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และกรุงเทพธุรกิจสุดสัปดาห์ ควบคู่กับการอ่านข่าวหุ้นกับสุทธิชัย หยุ่น ก่อนจะออกจากเครือเนชั่น เข้าสู่วงการวิทยุกับไอเอ็นเอ็น ก่อนจะย้ายไปทำข่าวโทรทัศน์ด้วยการเป็นผู้ประกาศข่าวทางช่อง 7

ในปี พ.ศ. 2539 ได้เป็นพิธีกรแทนบุญยอด สุขถิ่นไทย ทางรายการ "กู๊ด มอร์นิ่ง บางกอก" ที่ลาหยุดไปเนื่องจากป่วย 2 วัน

อัญชะลี ไพรีรักเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยความเป็นนักจัดรายการวิทยุที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างตรงไป ตรงมา และมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ซึ่งในตอนนั้นอัญชะลีจัดรายการวิทยุอยู่ที่คลื่น F.M. 96.5 MHz รายการ "จับชีพจรข่าว"

ต่อมาได้ถูกยุติการทำรายการ เนื่องจากถูกแทรกแซง จึงได้รับการเชื้อเชิญจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เจ้าของธุรกิจทีพีไอ ให้มาทำวิทยุคลื่นประชาธิปไตย F.M. 92.25 MHz โดยเป็นผู้ริเริ่ม ทั้งวางผังและจัดรายการเองทั้งหมด แต่ต่อมาก็ถูกแทรกแซงอีกครั้ง จนต้องลาออกมา

จนกระทั่งในต้นปี พ.ศ. 2549 ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เริ่มต้นการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างจริงจังแล้ว อัญชะลีจึงได้เข้าร่วมและได้ร่วมจัดรายการบนเวทีและในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร คอนเสิร์ตการเมือง คู่กับยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที ในรายการชื่อ "ติดดาบปลายปืน" แต่มิได้เป็นพนักงานในเครือผู้จัดการแต่อย่างใด

หลังการรัฐประหาร ได้เดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลียได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางกลับมา จากนั้นในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 อัญชลีได้ลงสมัครรับเลือกตั้งใน จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อันเนื่องความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มีกับแกนนำพรรค แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 อัญชะลีได้กลับมาร่วมชุมนุมอีกครั้ง โดยเป็นผู้จัดรายการเล่าข่าวตอนเช้าบนเวทีคู่กับกมลพร วรกุล ภายหลังการชุมนุมยุติลงก็ได้ทำหน้าที่เป็นพิธีกรรายการเคาะข่าวริมโขงและแขกรับเชิญรายการสภาท่าพระอาทิตย์ทุกวันจันทร์และศุกร์ และมีรายการประจำ ชื่อ "จับตาประเทศไทย" ออกอากาศทุกคืนวันอาทิตย์ 20.30 - 21.00 น.ทาง เอเอสทีวี เป็นรายการเล่าข่าวทั่วไป

ต่อมา อัญชะลีได้ยุติรายการทั้งหมดทางเอเอสทีวี และสื่อต่าง ๆ ในเครือผู้จัดการหมดแล้ว โดยมีเสียงร่ำลือกระแสหนึ่งกล่าวว่า ได้ออกไปทำงานส่วนตัว และเป็นเลขานุการให้กับ นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [2] ส่วนอีกกระแสหนึ่งกล่าวว่า ได้เป็นบรรณาธิการให้กับนิตยสารท่องเที่ยว[3]

ปัจจุบัน อัญชะลีเป็นผู้จัดรายการ "ร้อยข่าวบลูสกาย" และ"ร้อยข่าวสุดสัปดาห์" ทางบลูสกายแชนแนล

อ้างอิง

  1. เดิมชื่อ อัญชลี ไพรีรัก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อตัวเป็น "อัญชะลี" เมื่อ พ.ศ. 2552 ตามความเชื่อเรื่องการเปลี่ยนชื่อเพื่อเสริมดวง
  2. ทำไม "ม็อบแดง" เติบโต ทำไม "ม็อบเหลือง" ถดถอย จับตา 19 ก.พ. "สึนามิแดง" มาแล้ว
  3. ทำไม ปอง อัญชะลี หายไปจากเวทีพันธมิตร (19 ก.พ.2554)

แหล่งข้อมูลอื่น