ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเชียงม่วน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SARANPHONG YIMKLAN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 146: บรรทัด 146:
* ธนาคารกรุงเทพ สาขาเชียงม่วน
* ธนาคารกรุงเทพ สาขาเชียงม่วน
* ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงม่วน
* ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงม่วน
* ธนาคารออมสิน สาขาเชียงม่วน (เร็ว ๆ นี้)


== ชาวเชียงม่วนที่มีชื่อเสียง ==
== ชาวเชียงม่วนที่มีชื่อเสียง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:37, 25 กรกฎาคม 2559

อำเภอเชียงม่วน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Muan
คำขวัญ: 
ไดโนเสาร์แก่งหลวง บวงสรวงพระธาตุภูปอ
บ่อแร่ถ่านหิน ภูเขาดินฝั่งต้า
ท่าฟ้าโบราณสถาน ธารสวรรค์บ่อเบี้ย
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอเชียงม่วน
แผนที่จังหวัดพะเยา เน้นอำเภอเชียงม่วน
พิกัด: 18°53′12″N 100°18′12″E / 18.88667°N 100.30333°E / 18.88667; 100.30333
ประเทศ ไทย
จังหวัดพะเยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด722.860 ตร.กม. (279.098 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2557)
 • ทั้งหมด19,032 คน
 • ความหนาแน่น26.32 คน/ตร.กม. (68.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 56160
รหัสภูมิศาสตร์5604
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน หมู่ที่ 10 ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา 56160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเชียงม่วน (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านม่วง จังหวัดน่าน (อำเภอปง จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการแบ่งพื้นที่ตำบลสระ ตำบลเชียงม่วน ออกจากอำเภอปง จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งประกาศจัดตั้งตำบลบ้านมางอีกหนึ่งตำบล รวมเป็น กิ่งอำเภอเชียงม่วน จังหวัดเชียงราย ขึ้นตรงกับอำเภอปง ปี พ.ศ. 2518 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอเชียงม่วน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 จึงได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา อำเภอเชียงม่วนจึงย้ายมาขึ้นกับจังหวัดนี้จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเชียงม่วนตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเชียงม่วนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 34 หมู่บ้าน ได้แก่

ที่ ชื่อตำบล ตัวเมือง อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร[1]
1. เชียงม่วน Chiang Muan 10 2,622 7,139
2. บ้านมาง Ban Mang 11 2,205 5,849
3. สระ Sa 13 2,193 6,222

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเชียงม่วนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเชียงม่วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงม่วนทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลบ้านมาง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านมาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านมาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชียงม่วน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสระทั้งตำบล

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

อำเภอเชียงม่วนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพะเยา ที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านป่าซางคำ หมู่ที่ 10 ตำบลเชียงม่วน อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพะเยา ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา-น่าน) ระยะทาง 125.3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที

ภูมิประเทศ

ภูมิประเทศของอำเภอเชียงม่วน เป็นที่ราบสูงระหว่างภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและป่าไม้มีที่ราบสองฝั่งแม่น้ำยมและน้ำปี้ ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 300 เมตร อำเภอเชียงม่วน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 722.859 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 451,786 ไร่

แม่น้ำ

  • แม่น้ำยม

ภูมิอากาศ

อำเภอเชียงม่วนมีสภาพดินฟ้าอากาศคล้ายอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดพะเยา แบ่งออก 3 ฤดู คือ

ประชากร

ประกอบด้วยประชากร 3 กลุ่ม คือ

  • 1. กลุ่มคนเมือง มีขนบธรรมเนียมแบบล้านนา มีทุกหมู่บ้านในอำเภอเชียงม่วน
  • 2. กลุ่มคนไทลื้อ มีขนบธรรมเนียมแบบสิบสองปันนา อาศัยอยู่บ้านท่าฟ้าเหนือ บ้านท่าใต้ บ้านฟ้าสีทองบ้านฟ้าใหม่ บ้านหล่าย บ้านทุ่งมอก บ้านทุ่งเจริญ บ้านป่าแขม บ้านแพทย์ และบ้านมาง บางส่วน
  • 3. กลุ่มชาวเขาเผ่าเย้า นับถือผี เชื่อเรื่องโชคชะตา อาศัยอยู่บ้านบ่อต้นสัก บ้านนาบัว บ้านห้วยก้างปลา ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก

ตามสถิติข้อมูลอำเภอเชียงม่วน สำรวจเมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. 2556 ดังนี้

  • ประชากรชาย 9,569 คน
  • ประชากรหญิง 9,507 คน

รวมทั้งสิ้น 19,076 คน

  • จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 7,230 ครัวเรือน
  • จำนวนหลังคาบ้านทั้งหมด 7,230 หลังคาบ้าน
  • พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 71,299 ไร่
  • จำนวนครัวเรือนที่ทำเกษตร 4,689 ครัวเรือน

ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ

แร่ธาตุในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน ได้เคยมีการสำรวจพบแร่เหล็กที่พื้นที่บ้านหนองกลาง หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านมาง และแร่ทองแดง ที่พื้นที่ บ้านปิน หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงม่วนแต่มีปริมาณไม่เพียงพอในเชิงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2532 กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบแหล่งถ่านหินบ้านสระ ในบริเวณแอ่งเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งมีปริมาณสำรองถ่านหินและลิกไนท์ ทางธรณีวิทยาสำรองยืนยัน (Measured) จำนวน 62.00 ล้านตัน ปริมาณสำรองบ่งชี้ (Indicate) จำนวน 1.59 ล้านตัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 63.59 ล้านตัน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งถ่านหินบ้านสระ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน 2533 ได้มอบอำนาจให้บริษัทเหมืองแร่เชียงม่วนจำกัด ขอประทานบัตรในกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานซึ่งทางแผนกำหนดจะเริ่มผลิตลิกไนท์ บริเวณบ้านสระหมู่ที่ 4 ตำบลสระ ได้ประมาณกลางปี พ.ศ. 2537 โดยคาดว่าจะมีอัตราการผลิตสูงสุด ประมาณ ปีละ 5 แสนตัน และในปัจจุบันนี้ทางบริษัทได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

การคมนาคม

การคมนาคมระหว่างจังหวัด ใช้เส้นทางหลวงแผนดินหมายเลข 1091 (พะเยา - น่าน)
ซึ่งเป็นถนนลาดยางเป็นหลักส่วนทางแยกเข้าสู้ตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นถนนลาดยาง ถนนหินคลุกและถนนลูกรังบดอัดแน่น สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดู ทุกตำบลและหมู่บ้าน

1. เริ่มจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงบ้านแม่ต๋ำแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน ) ผ่านอำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ที่อำเภอเชียงม่วน ระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร เป็นถนน ลาดยางโดยตลอดสามารถใช้ สัญจรไปมาได้สะดวก ทุกฤดู ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที

2. เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงแยกแม่ต๋ำแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1021 (พะเยา – เทิง) ถึงอำเภอดอกคำใต้ แยกซ้ายทางหลวง หมายเลข 1251 ผ่านบ้านทุ่งหลวง บ้านถ้ำ บ้านงิ้ว บ้านแม่พริก บ้านปางงุ้น แยกซ้ายผ่าน บ้านสระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน) ผ่านบ้านทุ่งหนอง บ้านบ่อตอง บ้านทุ่งมอก บ้านทุ่งเจริญ บ้านมางแยกซ้ายผ่านบ้านหนองอ้อ ไปสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอเชียงม่วน ระยะทางประมาณ 73 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที

3. เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1202 (พะเยา – ป่าแดด) ถึงบ้านหนองลาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1298 (บ้านห้วยลาน – บ้านหนองลาว) เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน) ผ่านอำเภอจุน อำเภอปง ไปสิ้นสุดทางที่ อำเภอเชียงม่วนระยะทางประมาณ 117 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

การคมนาคมระหว่างอำเภอเชียงม่วนกับจังหวัดน่าน

โดยเน้นเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1120 (แพร่ – พะเยา ) เริ่มต้นจากอำเภอเชียงม่วน ผ่านอำเภอบ้านหลวงถึงจังหวัดน่าน ระยะประมาณ 75 กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาลใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที

การคมนาคมระหว่างอำเภอเชียงม่วนกับจังหวัดแพร่

โดยเน้นเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1120 (แพร่ – พะเยา) เริ่มต้นจากอำเภอเชียงม่วน ผ่านอำเภอสอง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ระยะทางประมาณ 112 กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางโดยตลอด สามารถใช้สัญจรไปมาสะดวกทุกฤดูกาล ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

สถานศึกษา

อำเภอเชียงม่วนมีโรงเรียนประถมศึกษา 14 แห่ง มีโรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนเชียงม่วนวิทยาคม

สถานที่สำคัญ

สถานที่ท่องเที่ยว

  1. วัดท่าฟ้าใต้ ตำบลสระ มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ วิหารวัดท่าฟ้าใต้
  2. วนอุทยานไดโนเสาร์-แก่งหลวง
  3. อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
  4. น้ำตกห้วยต้นผึ้ง
  5. หมู่บ้านไทลื้อบ้านทุ่งมอก ตำบลบ้านมาง
  6. ฝั่งต้า ตำบลเชียงม่วน
  7. พระธาตุปูปอ-จุดชมวิว ตำบลบ้านมาง

สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

  1. ผ้าทอ
  2. ตุงไทลื้อ
  3. ยาเส้น

เศรษฐกิจ

อาชีพหลัก

  • ทำการเกษตร
  • เกษตรกรรมปลูกข้าว
  • ข้าวโพด
  • ยาสูบ
  • รับจ้างหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว

อาชีพเสริม

  • ค้าขาย
  • อุตสาหกรรมในครัวเรือน

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ

  • ข้าวโพด
  • ข้าวเหนียว
  • ผลไม้ ได้แก่ ลำไย มะขามหวาน

โรงพยาบาล

  • โรงพยาบาลเชียงม่วน

รัฐวิสาหกิจ

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเชียงม่วน
  • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาเชียงม่วน
  • สถานีเดินรถเมืองเชียงม่วน จังหวัดพะเยา (บริษัทขนส่งจำกัด)

ธนาคาร

  • ธนาคารกรุงเทพ สาขาเชียงม่วน
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาเชียงม่วน

ชาวเชียงม่วนที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดพะเยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. http://www.crma.ac.th/histdept/archives/articles/thai-pre-history-payao.htm

แหล่งข้อมูลอื่น