ข้ามไปเนื้อหา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Engineering,
Chiang Mai University
สถาปนา3 มิถุนายน พ.ศ. 2513 (54 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร
ที่อยู่
สี  สีเลือดหมู
มาสคอต
เกียร์
เว็บไซต์www.eng.cmu.ac.th

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Engineering, Chiang Mai University) เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เริ่มดำเนินการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่สมัยที่ศาสตราจารย์ ดร.บัวเรศ คำทอง เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับความร่วมมือและประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ ศาสตราจารย์ ดร.อรุณ สรเทศน์ (คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในขณะนั้นซึ่งต่อมาท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้เข้ามาช่วยดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นในหลายๆด้าน โดยการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านมีส่วนเป็นอย่างมากในการวางแผน ก่อสร้างอาคารต่างๆ และช่วยร่างหลักสูตรตลอดจนได้จัดหาอุปกรณ์ละตำราการสอน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการจัดหาอาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการเรียนการสอนของนักศึกษา[1]

ประวัติ

[แก้]

เมื่อคณะวิศวกรรมศาสตร์ เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ได้เปิดสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เป็นสาขาแรก โดยใช้อาคารหอพักชายอาคาร 1 เดิม (ปัจจุบันคือคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์) ชั้นล่างจำนวน 3 ห้อง ทางด้านทิศเหนือติดต่อกับธนาคารไทยพานิชย์ เป็นอาคารธุรการ และอาคารเรียนชั่วคราวโดยมีอาจารย์ผู้สอนเริ่มแรก จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร. สุพจน์ ตียาภรณ์ ผศ.สุธรรม ยุตบุตร และ รศ.ดร.ถวัลยวงค์ ไกรโรจนานันท์ ทั้งนี้ มี รศ.ดร.สุพจน์ ตียาภรณ์ เป็นคณบดีท่านแรก โดยรับ นักศึกษารุ่นแรก คือนักศึกษารหัส 1360….. เข้าเรียนรุ่นแรกจำนวน 60 คน ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนาการด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2513 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับอาจารย์เพิ่มเติม ได้แก่ ร.ศ.พิชัย บุณยะกาญจน์ ผศ.ปราโมทย์ ฤทธิปรีดานันท์ อ.โกมล ศักดิ์ศรี รศ.คำนึง วัฒนคุณ ผศ.สมคิด สลัดยะนันท์ รศ.ดร.สุพร คุตตะเทพ รศ.ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม รศ.ดร.เจษฏา เกษมเศรษฐ์ รศ.เกษม จันทรมังกร รศ.ลำดวน ศรีศักดา และรศ.สุเทพ นิ่มนวล เป็นต้น

ต่อมาในปีพ.ศ. 2515 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับงบประมาณเพื่อสร้างอาคาร 3 หลัง ภายในพื้นที่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับมอบ คือ อาคารแฝดอำนวยการ-ห้องสมุด อาคารเรียน 4 ชั้น และอาคาร Workshop

นอกจากนั้นสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงมติให้บัณฑิตที่จบการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้รับปริญญา “วิศวกรรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.)” ในภาษาไทย และ“Bachelor of Engineering (B.Eng.)” ในภาษาอังกฤษ มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่ากับบัณฑิตทางวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอื่นทั้งในและนอกประเทศทุกประการ โดยมีบัณฑิตจบการศึกษาตามหลักสูตรฯ และได้รับพระราชทานปริญญาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เป็นรุ่นแรกประมาณ 40 คน เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2515 ได้มีการพัฒนาด้านการศึกษาโดยเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์ สาขาต่างๆ ดังนี้

  • พ.ศ. 2518 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • พ.ศ. 2521 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • พ.ศ. 2524 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2526 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • พ.ศ. 2539 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2556 จัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย

การดำเนินงานตามพันธกิจในระยะแรก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรีเป็นหลัก เพื่อผลิตบุคลากรในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ตามความต้องการของประเทศซึ่งจำเป็นต้องใช้วิศวกรเป็นจำนวนมากสำหรับการพัฒนาประเทศ และปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการหรือแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยเน้นการดำเนินงานด้านวิจัยพร้อมกับการผลิตบัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้น ซึ่งได้ผลิตบัณฑิตและผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับกันทั้งในวงการวิชาการและวิชาชีพ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยมุ่งหวังให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมส่วนรวม เป็นผู้ที่ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพวิศวกรอย่างเคร่งครัด สามารถชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณในวิชาชีพ เปิดสอนการศึกษาระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาต่างๆ จนถึงปัจจุบัน[2]

ทำเนียบคณบดี

[แก้]
ทำเนียบคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ ตียาภรณ์ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2516
2. รองศาสตราจารย์ พิชัย บุณยะกาญจน พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2528
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ณอคุณ สิทธิพงษ์ พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2540
4. รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย แสงอินทร์ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2548
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2555
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2564
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน

หลักสูตร

[แก้]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ภาคพิเศษ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) นานาชาติ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) ภาคพิเศษ (แผน ข)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบริหารการก่อสร้าง
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม (เรียน 1 ปี)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) นานาชาติ

  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (นานาชาติ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติความเป็นมา – Faculty of Engineering, CMU".
  2. "ประวัติความเป็นมา – Faculty of Engineering, CMU".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]