ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:เรือประจัญบานนางาโตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรือประจัญบานนางาโตะ)
นางาโตะ ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1920
ประวัติ
จักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่อนางาโตะ
ตั้งชื่อตามแคว้นนางาโตะ
อู่เรืออู่ทหารเรือคูเระ
ปล่อยเรือ28 สิงหาคม ค.ศ. 1917
เดินเรือแรก9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1919
สนับสนุนโดยพลเรือเอกคาโต โทโมะซาบูโระ
สร้างเสร็จ15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920
เข้าประจำการ25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1920
Stricken15 กันยายน ค.ศ. 1945
ความเป็นไปอับปางจากการถูกใช้เป็นเป้าทดสอบอาวุธในปฏิบัติการครอสโรดส์, 29/30 กรกฎาคม ค.ศ. 1946
ลักษณะเฉพาะ (ตามที่สร้างขึ้น)
ชั้น: เรือประจัญบานชั้นนางาโตะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 32,720 ตัน
ความยาว: 215.8 เมตร
ความกว้าง: 29.02 เมตร
กินน้ำลึก: 9.08 เมตร
ระบบพลังงาน: 80,000 แรงม้า
ระบบขับเคลื่อน: ขับกังหันไอน้ำ 4 กังหัน
ความเร็ว: 26.5 นอต
พิสัยเชื้อเพลิง: 5,500 ไมล์ทะเล ที่ 16 นอต
อัตราเต็มที่: 1,333 นาย
ยุทโธปกรณ์:
  • 4 ปืนใหญ่คู่ ขนาด 41ซม.
  • 20 ปืนใหญ่เดี่ยว ขนาด 14ซม.
  • 4 ปตอ.เดี่ยว ขนาด 76มม.
  • 8 ท่อยิงตอร์ปิโด ขนาด 533มม.
เกราะ:
  • ข้างลำเรือ 100-305 มม.
  • กลางดาดฟ้า 75 มม.
  • หน้าป้อมปืน 190-356 มม.
  • ขอบดาดฟ้า 305 มม.
  • หอบังคับการเรือ 369 มม.
  • ลักษณะเฉพาะ (ค.ศ. 1944)
    ขนาด (ระวางขับน้ำ): 39,130 ตัน
    ความยาว: 224.94 เมตร
    ความกว้าง: 34.6 เมตร
    กินน้ำลึก: 9.49 เมตร
    ระบบพลังงาน: 80,000 แรงม้า
    ความเร็ว: 25 นอต
    พิสัยเชื้อเพลิง: 8,650 ไมล์ทะเล ที่ 16 นอต
    อัตราเต็มที่: 1,734 นาย
    ยุทโธปกรณ์:
    • 4 ปืนใหญ่คู่ ขนาด 41ซม.
    • 18 ปืนใหญ่เดี่ยว ขนาด 14ซม.
    • 4 ปืน.คู่ ขนาด 127มม.
    • 98 ปตอ ขนาด 25มม.
    เกราะ:
  • กลางดาดฟ้า 100 มม.
  • หน้าป้อมปืน 280–460 มม.
  • ขอบดาดฟ้า 457 มม.
  • อากาศยาน: เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 3 ลำ
    อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: ตัวส่งเครื่องขึ้น 1 เครื่อง

    นางาโตะ (ญี่ปุ่น: 長門โรมาจิNagato) เป็นเรือประจัญบานซูเปอร์เดรดนอตของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ต่อเสร็จในปี ค.ศ. 1920 ในฐานะเรือนำในชั้นเรือ ได้ใช้ขนส่งเสบียงเข้าช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโตในปี ค.ศ. 1923 ตัวเรือได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ระหว่างปี 1934–1936 โดยมีการเสริมเกราะและเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมกับปรับเปลี่ยนโครงสร้างส่วนบนให้เป็นแบบ pagoda mast ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น นางาโตะเข้าร่วมในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1937 ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็นเรือธงของพลเรือเอกอิโซโรกุ ยามาโมโตะในช่วงระหว่างการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ นางาโตะทำหน้าที่คุ้มกันเรือรบที่ถอยกลับ และไม่ได้เข้าร่วมในการโจมตี[1][2][3][4]

    นอกจากการเข้าร่วมในยุทธนาวีที่มิดเวย์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1942 ซึ่งเรือไม่ได้เข้าร่วมการต่อสู้โดยตรงแล้ว เรือประจัญบานนางาโตะใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วงสองปีแรกของสงครามแปซิฟิกในการฝึกซ้อมในน่านน้ำบ้านเกิด กลางปี ค.ศ. 1943 เรือนางาโตะถูกย้ายไปประจำการที่ทรุก แต่ไม่ได้เข้าร่วมปฏิบัติการรบใด ๆ จนกระทั่งถึงกลางปี ค.ศ. 1944 ในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน ซึ่งเป็นที่ที่เรือลำนี้ถูกเครื่องบินของฝ่ายสหรัฐฯ โจมตี เรือประจัญบานนางาโตะ ได้เข้าร่วมในสมรภูมิสำคัญครั้งแรกในยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต ในเดือนตุลาคม โดยเป็นครั้งแรกที่เรือลำนี้ได้ยิงปืนใหญ่หลักใส่กองเรือข้าศึก ในการรบครั้งนั้น เรือได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย และเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนต่อมา

    เรือถูกโจมตีในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทัพสหรัฐเพื่อทำลายเรือหลวงของกองทัพเรือลำสุดท้ายที่เหลืออยู่ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยและกลายเป็นเรือประจัญบานญี่ปุ่นเพียงลำเดียวที่รอดชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นในกลางปี ​​ค.ศ. 1946 เรือลำดังกล่าวถูกสหรัฐใช้เป็นเป้าทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงปฏิบัติการครอสโรดส์ เธอรอดชีวิตจากการทดสอบครั้งแรกโดยได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อย แต่กลับอัปปางลงในครั้งที่สอง

    รูปภาพ

    [แก้]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. "Horace A. Bass". Dictionary of American Naval Fighting Ships. Naval History & Heritage Command (NH&HC). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2004. สืบค้นเมื่อ 25 May 2013.
    2. Farley, Robert. "Imperial Japan's Last Floating Battleship". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 2 November 2017.
    3. "Bikini Atoll Dive Tourism Information". Bikini Atoll Divers. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
    4. Ecott, Tim (3 March 2007). "World's Best Wreck Diving". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 11 September 2009.(ต้องรับบริการ)

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]